วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 11 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อเสนอแนะสำหรับครูและผู้ปกครอง
บนเรียนนี้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
มาตรฐาน ง 2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการ เทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วน ร่วมในการจัดการเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้ การสื่อสาร การ แก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และมีคุณธรรม
ตัวชี้วัด : สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้
ง 2.1 (3) สร้างและพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยโดยถ่ายทอด ความคิดเป็นภาพฉายและแบบจำลองเพื่อนำไปสู่การสร้างชิ้นงาน หรือถ่ายทอดความคิดของวิธีการ เป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผลโดยใช้ซอฟแวร์ช่วยในการออกแบบหรือนำเสนอผลงาน
ง 2.1 (4) มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในการที่ผลิตเอง หรือการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่ผู้อื่นผลิต
ง 2.1 (5) วิเคราะห์และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคมและ สิ่งแวดล้อม และมีการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืนด้วยวิธีการของเทคโนโลยีสะอาด
ง 3.1 (9) ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
ง 3.1 (10) ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลข้อมูลให้สารสนเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ง 3.1 (11) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน
ง 3.1 (12) ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานหรือโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ
ง 3.1 (13) บอกข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวคิด
ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และความต้องการด้านข้อมูลข่าวสารมีอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีหน่วยงานต่าง ๆ ได้เห็นถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงาน ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน
สาระการเรียนรู้
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการสำนักงาน
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการบริหารภาครัฐ
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านความบันเทิง
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
1. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาได้
2. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านการจัดการสำนักงานได้
3. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ได้
4. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารภาครัฐได้
5. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมได้
6. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านความบันเทิงได้
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ประกอบกับมีความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจากงานหลาย ๆ ด้าน จึงเห็นว่าการทำงาน หรือการประมวลผลข้อมูลได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพื่อก่อให้เกิดงานที่มีความถูกต้อง รวดเร็ว และสามารถเชื่อมต่อระบบงานนี้ไปยังเครือข่ายทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานได้อย่างแพร่หลาย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มช่องทางในการศึกษาให้กับผู้เรียน นอกจากเป็นการเรียนภายในห้องเรียนแล้ว ยังสามารถทำเป็นบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้นำมาเรียนเพิ่มเติมหรือเป็นการทบทวนนอกเวลาเรียนได้อีกด้วยการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีกับการศึกษา ได้แก่
1. การเรียนรู้แบบบทเรียนออนไลน์ (E-learning)
การเรียนรู้แบบบทเรียนออนไลน์ เป็นการเรียนที่จะสร้างบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บนเรียนต่าง ๆ เหล่านั้นจะประกอบด้วยภาพ เสียง เนื้อหาบทเรียน หรือบทเรียนมัลติมีเดีย ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาในการเรียนได้เอง เพราะเป็นรูปแบบการเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่และทุกเวลา การให้บริการแบบบทเรียนออนไลน์จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ
1. เนื้อหาบทเรียน
2. ระบบบริหารจัดการการเรียน เพื่อกำหนดลำดับของเนื้อหาบทเรียน กำหนดเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการเรียน กำหนดการทดสอบเพื่อวัดความรู้ของผู้เรียน กำหนดเกณฑ์ผ่านในแต่ละบทเรียน ตลอดทั้งการกำหนดระยะเวลาในการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน
3. การติดต่อสื่อสาร การเรียนแบบบทเรียนออนไลน์ ผู้เรียนสามารถที่จะติดต่อกับผู้สอนหรือเจ้าของบทเรียนได้ โดยจะใช้วิธีการสื่อสารผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Chat Webboard E-mail เป็นต้น
2. การเรียนผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในระบบการศึกษานอกจากทำบทเรียนออนไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพิ่มเติมแล้วในมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายๆแห่ง ได้จัดทำหลักสูตรการเรียนในระบบการเรียนการสอนผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ ทำให้ผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง ในการเดินทางไปเรียนในต่างประเทศ รายละเอียดของหลักสูตร กิจกรรมระหว่างเรียน การวัดผลการเรียน เกณฑ์การประเมินต่างๆ และการติดต่อระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา หรือระหว่างมหาวิทยาลัยกับนักศึกษาจะใช้วิธีการสื่อสารผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น เมื่อเรียนจบตามหลักสูตรนักศึกษาก็จะได้รับปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมีความเท่าเทียมกับนักศึกษาที่เรียนอยู่ภายในมหาวิทยาลัยทุกประการ สามารถเรียกได้ว่า “มหาวิทยาลัยเสมือน” หรือในทางการศึกษามักจะเรียกว่า “มหาวิทยาลัยไซเบอร์”
สำหรับประเทศไทย การเรียนในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเสมือนนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการมีข้อบังคับว่า ต้องมีการสอบจริงในทุกห้องสอบทุกภาคการศึกษา โดยมีอาจารย์ผู้ทำหน้าที่ควบคุมห้องสอบ และมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจข้อสอบ เมื่อเรียนจบแล้วนักศึกษาจะต้องมีคุณภาพไม่ด้อยกว่านักศึกษาในภาคปกติ สามารถนำความรู้ไปทำงานได้จริง และเสริมคุณค่าให้กับวิชาชีพในการทำงานได้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยเสมือนในประเทศไทย เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช และมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น
3.ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)
ระบบงานห้องสมุดเป็นระบบงานที่มีข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินงานอยู่หลายขั้นตอนจึงนิยมนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการภายในระบบ โดยจัดทำเป็นโปรแกรมระบบงานห้องสมุด เพื่อลดความยุ่งยากของงาน
เมื่อได้พัฒนางานจากระบบงานห้องสมุดเดิม มาเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลของหนังสือที่ต้องการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการอยู่ภายในห้องสมุดได้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้การจัดเก็บข้อมูลนักศึกษาในฐานข้อมูลของสถานศึกษาต่างๆก็สามารถนำข้อมูลนักศึกษามาเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานห้องสมุดได้ โดยใช้บัตรนักศึกษาที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเป็นบัตรสมาชิกห้องสมุดได้ทันที จะทำให้มีความสะดวกมากขึ้น ไม่ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของระบบงานอยู่ภายในหน่วยงานเดียวกัน
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดทำเว็บไซต์ของห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลของหนังสือได้ทุกที่และทำการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสมุดได้อีกด้วย นอกจานี้สิ่งพิมพ์หือหนังสือต่างๆ สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมานั่งอ่านอยู่ภายในห้องสมุดเพียงอย่างเดียวผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book) ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทันที หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีลักษณะไฟล์ 4 รูปแบบ คือ
1. HTML : Hyper Text Markup Language
2. PDF :Portable Document Format
3. PML : Peanut Markup Language
4. XML : Extensive Markup Language
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการสำนักงาน
ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายหน่วยงานได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้บริหารจัดการภายในสำนักงาน รียกว่า “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ MIS” เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องในด้านข้อมูล ภายในหน่วยงานจะประกอบด้วยฝ่ายต่างๆที่ต้องใช้ข้อมูลร่วมกันสามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในหน่วยงาน
นอกจากการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาใช้ภายในหน่วยงานได้นำรูปแบบการบริการและการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ภายในหน่วยงานอีกด้วย จะเรียกรูปแบบของเครือข่ายนี้ว่า “เครือข่ายอินทราเน็ต(Intranet)” เป็นเครือข่ายภายในหน่วยงานหรือองค์กรโดยจัดทำในรูปแบบของเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของหน่วยงานและจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร หรือคำสั่งต่างๆไว้ในเว็บไซต์
สำหรับในสถานศึกษาได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลด้วยเช่นกัน นอกจากเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของสถานศึกษาแล้วยังช่วยให้นักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครองสามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลของนักเรียนนักศึกษาได้
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์
ด้านการแพทย์ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สำหรับการจัดการงานด้านต่างๆภายในโรงพยาบาล ยังมีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย การให้ความรู้และการสอนทางไกลผ่านทางระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นต้น
เนื่องจากในประเทศไทยบุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมักจะอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น ดังนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขจึงนำระบบแพทย์ทางไกลมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อแพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยในชนบทสามารถสื่อสารกับแพทย์ในเครือข่ายเดียวกันได้ ทำให้แพทย์ที่อยู่ปลายทางสามารถเห็นทั้งภาพและเสียงของผู้ป่วย ทำให้ได้ข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อนำไปวิเคราะห์โรคและหาทางรักษาผู้ป่วยร่วมกันได้ เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแพทย์ในชนบทกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ กรณีนี้จะช่วยให้สามารถทำการรักษาผู้ป่วยได้ทันเวลา
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการบริหารงานภาครัฐ
ภารกิจหลักของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประเทศ คือ การปฏิรูปภาครัฐโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ จึงได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มในการดำเนินงาน ที่เรียกว่า “ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-government)
ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากจะนำมาใช้สำหรับการบริหารงานจัดการภาครัฐอย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังปรับปรุงเพื่อนำมาให้บริการแก่ประชาชน ทั้งในด้านข้อมลข่าวสารและการให้บริการด้านธุรกรรมกับภาครัฐอย่างทั่วถึง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม การสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ โดยได้รับความร่วมมือจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงภาครัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน
ระบบภาครัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จัดแบ่งความต้องการของผู้ใช้บริการออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชน ธุรกิจ ข้าราชการ และพนักงานของรัฐ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐทั้งในและต่างประเทศสามารถจัดรูปแบบของการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 4 รูปแบบ คือ
1. ภาครัฐต่อประชาชน (Government to Citizen : G2C)
2. ภาครัฐต่อเอกชน (Government to Business : G2B)
3. ภาครัฐต่อภาครัฐ (Government to Government : G2G)
4. ภาครัฐต่อข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employees : G2E)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารมีความทันสมัยมากขึ้นและมีรู)แบบของการสื่อสารและช่องทางได้แก่ โทรศัพท์ ดาวเทียม เคเบิลทีวี อินเตอร์เน็ต เป็นต้น จึงทำให้มนุษย์สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารระหว่างกันและกันได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว เทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆจะช่วยให้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านความบันเทิง
ด้านความบันเทิงได้นำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ก่อให้เกิดรูปแบบของ “อีซีนีมา” เป็นการบริการสมาชิกหรือลูกค้าแบบออนไลน์

สรุป
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับงานหลายๆด้าน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงานได้แก่
1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา เช่น การเรียนรู้แบบบทเรียนออนไลน์ การเรียนรู้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการสำนักงาน
3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์
4.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการบริหารงานภาครัฐ เช่น ด้านการจัดเก็บภาษี

1 ความคิดเห็น:

  1. What's the difference between a casino and the
    As the name 경상남도 출장마사지 suggests, a casino does not require depositing money into 의왕 출장마사지 a sportsbook or any other 세종특별자치 출장마사지 form 부천 출장마사지 of currency, but does not require depositing funds into your casino account. 논산 출장샵 For

    ตอบลบ