วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 13 กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างยิ่ง เช่น การศึกษา การค้าขาย บันเทิง อุตสาหกรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการค้า ต้องสร้างความเชื่อมั่น ดังนั้น เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบ ให้จัดทำโครงการกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า คณะกรรมการ ไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือที่เรียกว่า เนคเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 6 ฉบับ ดังต่อไปนี้
1.กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
2.กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4.กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5.กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6.กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ว่าด้วยการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานสาระสนเทศอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ก่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน และเป็นการเปิดโลกกว้างในการสื่อสารของโลกยุคปัจจุบัน จนเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเหล่านี้ มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมายบนโลกของการสื่อสาร หรือแม้แต่ก่อให้เกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรงและหลากหลายรูปแบบเพิ่มมากขึ้น ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งสำคัญที่จะถูกโจมตีได้ง่าย และมีปัญหามากที่สุดคือไวรัสคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะถูกเผยแพร่มาจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นับเป็นปัญหาใหญ่สำหรับหน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน ดังนั้นทุกหน่วยงานจึงต้องตระหนักในปัญหานี้ และต้องหาทางป้องกันภัยที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆจึงควรจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาความปลอดภัย พร้อมกันนี้จะต้องมีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการถูกโจมตีจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีทั้งหลายนั้น เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขอ งหน่วยงาน จะต้องมีการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆได้แก่
1.Hacker คือ ผู้ที่มีความสนใจด้านคอมพิวเตอร์ที่ลึกลงไปในส่วนของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
2.Cracker คือ บุคคลที่บุกรุกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น เพื่อทำลายข้อมูลที่สำคัญ ทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของกลุ่มเป้าหมาย
3.Phoneker คือกลุ่มบุคคลที่จัดอยู่ในพวก Cracker โดยมีลักษณะของการกระทำทางด้านโทรศัพท์และการติดต่อสื่อสารผ่านตัวกลางต่างๆเพียงอย่างเดียวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการใช้โทรศัพท์ฟรี หรือแอบดักฟังโทรศัพท์เท่านั้น
4.Buffer Overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัยจุดอ่อนของระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม เมื่อมีการส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆในเวลาเดียวกันจะส่งผลให้เครื่องไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติหน่วยความจำไม่เพียงพอจนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ
5.Backdoors
6.CGI Script
7.Hidden HTML
8.Failing to Update
9.Illegal Browsing
10.Malicious Scipts
11.Poison Cookies
12.ไวรัสคอมพิวเตอร์
13.บุคลากรในหน่วยงานที่ลาออกหรือถูกให้ออกจากงาน

วิธีการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
1. Data Diddling คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือระหว่างที่กำลังบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวนี้สามารถกระทำโดยบุคคลที่สามารถเข้าถึงตัวข้อมูลได้ เช่น พนักงานที่มีหน้าที่บันทึกเวลา
การทำงานของพนักงานทั้งหมด ทำการแก้ไขตัวเลขชั่วโมงการทำงานของคนอื่นมาเป็นชั่วโมงการทำงานของตนเอง เป็นต้น
2. Trojan Horse คือ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงไว้ในโปรแกรมที่มีประโยชน์ เมื่อถึงเวลาโปรแกรมที่ไม่ดีจะปรากฏตัวขึ้นเพื่อปฏิบัติการทำลายข้อมูล วิธีนี้มักจะใช้กับการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ หรือการทำลายล้างข้อมูล หรือระบบคอมพิวเตอร์
3. Salami Techniques คือ วิธีการปัดเศษจำนวนเงิน เช่น ทศนิยมตัวที่ 3 หรือปัดเศษทิ้งให้เหลือแต่จำนวนเงินที่จ่ายได้ และจะทำให้ผลรวมของบัญชียังคงสมดุล (Balance) และจะไม่มีปัญหากับระบบควบคุมเนื่องจากไม่มีการนำเงินออกจากระบบบัญชี นอกจากใช้กับการปัดเศษเงินแล้ววิธีนี้อาจใช้กับระบบการตรวจนับของในคลังสินค้า

4. Super zapping มาจากคำว่า Super zap เป็นโปรแกรม Macro Utility ที่ใช้เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของระบบ (System Tool) ทำให้สามารถเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ได้ในกรณีฉุกเฉินเสมือนกุญแจดอกอื่นหายหรือมีปัญหา โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) เช่นโปรแกรม Super zapจะมีความเสี่ยงมากหากตกไปอยู่ในมือผู้ที่ไม่หวังดี
5. Trap Doors เป็นการเขียนโปรแกรมที่เลียนแบบคล้ายหน้าจอปกติของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลวงผู้ที่มาใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้ทราบถึงรหัสประจำตัว (ID Number) หรือรหัสผ่าน (Password) โดยโปรแกรมนี้จะเก็บข้อมูลที่ต้องการ ไว้ในไฟล์ลับ
6. Logic Bombs เป็นการเขียนโปรแกรมที่มีคำสั่งอย่างมีเงื่อนไขไว้ โดยโปรแกรมจะเริ่มทำงานต่อเมื่อมีสภาวะ หรือสภาพการณ์ ตามที่ผู้สร้างโปรแกรมกำหนด สามารถใช้ติดตามดูความเคลื่อนไหวของระบบบัญชี ระบบเงินเดือนแล้วทำการเปลี่ยนแปลงตัวเลขดังกล่าว
7. Asynchronous Attack เนื่องจากการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เป็นการทำงานแบบ Asynchronous คือสามารถทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน โดยการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นจะเสร็จไม่พร้อมกัน ผู้ใช้งานจะทราบว่างานที่ประมวลผลเสร็จหรือไม่ก็ต่อเมื่อเรียกงานนั้นมาดู ระบบดังกล่าวก่อให้เกิดจุดอ่อน ผู้กระทำความผิดจะฉวยโอกาสในระหว่างที่เครื่องกำลังทำงาน เข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือกระทำการอื่นใดโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น
8. Scavenging คือ วิธีการที่จะได้ข้อมูลที่ทิ้งไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือบริเวณใกล้เคียงหลังจากเสร็จการใช้งานแล้ววิธีที่ง่ายที่สุด คือ ค้นหาตามถังขยะที่อาจมีข้อมูลสำคัญไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ หรือรหัสผ่านหลงเหลืออยู่ หรืออาจใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนทำการหาข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เลิกงานแล้ว
9. Data Leakage คือ การทำให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป อาจโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม เช่น การแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะที่กำลังทำงานคนร้ายอาจตั้งเครื่องดักสัญญาณไว้ใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เลิกใช้งาน
10. Piggybacking วิธีการนี้สามารถทำได้ทางกายภาพ (Physical) คือ การที่คนร้ายจะลักลอบเข้าไปในประตูที่มีระบบรักษาความปลอดภัย คนร้ายจะรอให้บุคคลที่มีอำนาจหรือได้รับอนุญาตมาใช้ประตูดังกล่าว เมื่อประตูเปิดและบุคคลนั้นได้เข้าไปคนร้ายก็ฉวยโอกาสตอนที่ประตูยังปิดไม่สนิทแอบเข้าไปได้ ในทางอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นเดียวกัน อาจเกิดในกรณีที่ใช้สายสื่อสารเดียวกับผู้ที่มีอำนาจใช้ หรือได้รับอนุญาต เช่น ใช้สายเคเบิล หรือโมเด็มเดียวกัน
11. Impersonation คือ การที่คนร้ายแกล้งปลอมเป็นบุคคลอื่นที่มีอำนาจ หรือได้รับอนุญาต เช่น เมื่อคนร้ายขโมยบัตรเอทีเอ็มของเหยื่อได้ก็จะโทรศัพท์และแกล้งทำเป็นเจ้าพนักงานของธนาคาร และแจ้งให้เหยื่อทราบว่ากำลังหาวิธีการป้องกันไม่ให้เงินในบัญชีของเหยื่อสูญหายจึงบอกให้เหยื่อเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยให้เหยื่อบอกรหัสเดิมก่อน คนร้ายจึงทราบหมายเลขรหัสและได้เงินของเหยื่อไป
12. Wiretapping เป็นการลักลอบดักฟังสัญญาณการสื่อสารโดยเจตนาที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสาร หรือที่เรียกว่าโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศโดยการกระทำความผิดดังกล่าวกำลังเป็นที่หวาดวิตกกับผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก
13. Simulation and Modeling ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนการควบคุมและติดตามความเคลื่อนไหวในการประกอบอาชญากรรม และกระบวนการดังกล่าวก็สามารถใช้โดยอาชญากร ในการสร้างแบบจำลองในการวางแผน เพื่อประกอบอาชญากรรมได้เช่นกัน เช่น ในกิจการประกันภัยมีการสร้างแบบจำลองในการปฏิบัติการ หรือ ช่วยในการตัดสินใจ ในการทำกรมธรรม์ประกันภัย โปรแกรมสามารถทำกรมธรรม์ประกันภัยปลอมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้บริษัทประกันภัยจริงล้มละลาย เมื่อถูกเรียกร้องให้ต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่ขาดการต่ออายุ หรือกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเงินเพียงการบันทึก (จำลอง) ไม่ได้รับเบี้ยประกันจริง หรือต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่เชื่อว่ายังไม่ขาดอายุ

ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
1. พวกมือใหม่หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้ และส่วนใหญ่จะไม่ใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย ไม่ได้ดำรงชีพโดยการกระทำความผิด
2. นักเจาะข้อมูล ผู้ที่เจาะข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยี เข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต
3. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่น พวกลักเล็กขโมยน้อยที่พยายามขโมยบัตรเอทีเอ็ม ของผู้อื่น
4. อาชญากรมืออาชีพ คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่น พวกที่มักจะใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงิน หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น
5. พวกหัวรุนแรงคลั่งอุดมการณ์หรือลัทธิ มักก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพื่ออุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจศาสนา หรือสิทธิมนุษยชน เป็นต้น


ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นคงจะไม่ใช่มีผลกระทบเพียงแต่ความมั่นคงของบุคคลใด บุคคลหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบไปถึงเรื่องความมั่นคงของประเทศชาติเป็นการส่วนรวม ทั้งความมั่นคงภายใน และภายนอกประเทศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข่าวกรอง หรือการจารกรรมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมเช่น
1. ในปัจจุบันความมั่นคงของรัฐนั้นมิใช่จะอยู่ในวงการทหารเพียงเท่านั้น บุคคลธรรมดาก็สามารถป้องกัน หรือทำลายความมั่นคงของประเทศได้
2. ในปัจจุบันการป้องกันประเทศอาจไม่ได้อยู่ที่พรมแดนอีกต่อไปแล้ว แต่อยู่ที่ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการคุกคาม หรือทำลายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
3. การทำจารกรรมในสมัยนี้มักจะใช้วิธีการทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

บนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ความผิดต่าง ๆ ล้วนแต่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การจารกรรม การก่อการร้าย การค้า ยาเสพติด การแบ่งแยกดินแดน การฟอกเงิน การโจมตีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศที่มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมเช่น ระบบจราจร หรือระบบรถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งทำให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงของประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของชาติ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด การโจมตีผ่านทางระบบโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สามารถทำได้ด้วยความเร็วเกือบเท่ากับการเคลื่อนที่ความเร็วแสง ซึ่งเหนือกว่าการเคลื่อนทัพทางบก หรือการโจมตีทางอากาศ

มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
มาตรการด้านเทคโนโลยี
เป็นการต่อต้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยผู้ใช้สามารถใช้หรือติดตั้งเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ การติดตั้งระบบการตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection) หรือการติดตั้งกำแพงไฟ (Firewall) เพื่อป้องกันหรือรักษาคอมพิวเตอร์ของตนให้มีความ ปลอดภัย ซึ่งนอกเหนือจากการติดตั้งเทคโนโลยีแล้วการตรวจสอบเพื่อประเมินความเสี่ยง อาทิ การจัดให้มีระบบวิเคราะห์ความเสี่ยงและการให้การรับรอง (Analysis Risk and Security Certification) รวมทั้งวินัยของ ผู้ปฏิบัติงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นการติดตั้งเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการป้องกันปัญหาดังกล่าวก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด
มาตรการด้านกฎหมาย
มาตรการด้านกฎหมายเป็นนโยบายของรัฐบาลไทยประการหนึ่งที่นำมาใช้ในการต่อต้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยการบัญญัติหรือตรากฎหมายเพื่อกำหนดว่าการกระทำใดบ้างที่มีโทษทางอาญา ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับดังนี้
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. …. ซึ่งขณะนี้เป็นกฎหมายหนึ่งในหกฉบับที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญของกฎหมายแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ
ก) การกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่มีอำนาจ (Illegal Access) ความผิดฐานลักลอบดักข้อมูลคอมพิวเตอร์(Illegal Interception) หรือ ความผิดฐานรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (Interferencecomputer data and computer system) ความผิดฐานใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ (Misuse of Devices) เป็นต้น
ข) การให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าพนักงานในการปราบปรามการกระทำความผิด นอกเหนือเพิ่มเติมไปจากอำนาจโดยทั่วไปที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่นๆ อาทิ การให้อำนาจในการสั่งให้ถอดรหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์ อำนาจในการเรียกดูข้อมูลจราจร (trafficdata) หรือ อำนาจค้นโดยไม่ต้องมีหมายในบางกรณี
(2) กฎหมายอี่นที่เกี่ยวข้อง
นอกเหนือจากกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้ว ปัจจุบันมีกฎหมายอีกหลายฉบับทั้งที่ตราขึ้น
ใช้บังคับแล้ว และที่อยู่ระหว่างกระบวนการตรานิติบัญญัติ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการป้องกันหรือปราบปรามอาชญากรรม
ทางคอมพิวเตอร์ อาทิ
ก) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 74 ซึ่งกำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการดักรับไว้ หรือใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความข่าวสาร หรือข้อมูลอื่นใดที่มีการสื่อสารโทรคมนาคมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข) กฎหมายอื่นที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์)โดยเป็นการกำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนกำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการใช้ มีไว้เพื่อใช้ นำเข้า หรือส่งออก การจำหน่ายซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมหรือแปลง และลงโทษบุคคลที่ทำการผลิต หรือมีเครื่องมือในการผลิตบัตรดังกล่าว ปัจจุบันกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและอยู่ระหว่างเตรียมนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (เกี่ยวกับการส่งสำเนาหมายอาญาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์) โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งสำเนาหมายอาญาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อสารสนเทศอื่นๆ ปัจจุบันกฎหมายฉบับนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญสภาผู้แทนราษฎร
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. …. ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วม รัฐสภา
มาตรการด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
นอกเหนือจากมาตรการทางเทคโนโลยีที่ผู้ใช้ต้องดำเนินการ หรือมาตรการทางกฎหมายที่รัฐบาลต้องผลักดันกฎหมายต่างๆ แล้วมาตรการสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์สัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติได้นั้น คือมาตรการด้านความร่วมมือกับระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งมิได้จำกัดเพียงเฉพาะหน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้พัฒนาระบบหรือผู้กำหนดนโยบายก็ตาม
นอกเหนือจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ แล้วสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานด้านความปลอดภัยของเครือข่ายเพื่อรับมือ กับปัญหาฉุกเฉินด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ขึ้นโดยเฉพาะ และเป็นศูนย์กลางคอยให้ค วามช่วยเหลือในด้านต่างๆ รวมทั้งให้คำปรึกษาถึงวิธีการหรือแนวทางแก้ไข ซึ่งปัจจุบันศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (Thai ComputerEmergency Response Team / ThaiCERT) เพื่อเป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการ ตรวจสอบและการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์แก่ผู้ที่สนใจทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเป็นหน่วยงานรับแจ้งเหตุกรณีที่มีการละเมิดความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เกิดขึ้น
มาตรการทางสังคมในการแก้ปัญหาเฉพาะของประเทศไทย
สืบเนื่องจากในปัจจุบันปรากฏข้อเท็จจริงพบว่า สังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตไปในทางไม่ชอบหรือฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งโดยการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นสื่อลามกอนาจาร ข้อความหมิ่นประมาท การชักจูงล่อลวง หลอกลวงเด็กและเยาวชนไปในทางที่เสียหาย หรือพฤติกรรมอื่นอันเป็นภัยต่อสังคม โดยคาดการณ์ว่าการกระทำหรือพฤติกรรมดังกล่าวมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นตามสถิติเพิ่มขึ้นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต อันส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนไทย โดยปัญหาดังกล่าวอยู่ในความสนใจของสังคมไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้เร่งรณรงค์ในการป้องกันปัญหาดังกล่าวร่วมกันเพื่อดูแลและปกป้องเด็กและเยาวชนจากผลกระทบข้างต้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป โดยได้บัญญัติให้การกระทำที่เป็นความผิดและการกำหนดบทลงโทษไว้ในหมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 16 กำหนดองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษดังนี้
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

จริยธรรมคอมพิวเตอร์
จริยธรรมคอมพิวเตอร์ คือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวอย่างการกระทำผิดจริยธรรมคอมพิวเตอร์
1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ขอบเขตของจริยธรรมคอมพิวเตอร์มี 4 ประเด็น
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
เช่น แอบดูเมล เก็บบันทึกจราจร ข้อมูลลูกค้า หรือ Single Sign On
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
เช่น Bank Grade Wiki Blog
3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
เช่น ทรัพย์ที่จับต้องและจับต้องไม่ได้ การคุ้มครองสิทธิ
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
เช่น DoS Security Bandwidth Priority Method

บทที่ 12 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางธุรกิจ

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์, โทรทัศน์, วิทยุ, หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้
ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้ โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
สำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกา (United States Trade Representative : USTR) ได้จัดทำรายงานประเมินปัญหา และอุปสรรคทางการค้าของประเทศคู่ค้าสหรัฐที่มีผลกระทบต่อการค้าของสหรัฐ หรือ Nation Trade Estimate Report on Foreign Trade Barrier (NTE) เป็นประจำทุกปี สำหรับรายงานประจำปี 2007 ได้เผยแพร่แล้วเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2550 โดยในส่วนของประเทศไทย มีรายงานที่เกี่ยวกับกิจการ Electronic Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยว่า ประเทศไทยขาดกฎหมายที่สมบูรณ์แบบที่จะส่งเสริมสนับสนุนกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ภาคธุรกิจขาดโอกาส ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเต็มที่ ธุรกรรมทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการในลักษณะธุรกิจต่อธุรกิจ การกำกับดูแลและส่งเสริมกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่ามีหน่วยงานหลักอยู่สองหน่วยงาน คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รับผิดชอบโดยตรงเรื่องโครงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยี ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี การป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลและส่งเสริมที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าและการพัฒนาผู้ประกอบการ
ตามรายงานของ USTR ดังกล่าวคงต้องยอมรับว่าค่อนข้างตรงกับความเป็นจริง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามอย่างเต็มที่ ในการผลักดันให้มีการตราพระราชกฤษฎีกา ที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ออกใช้บังคับ เพื่อให้การใช้กฎหมายดังกล่าวมีผลในทางปฎิบัติ และเสนอยกร่างกฎหมาย เพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ แต่การออกกฎหมายมีขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการอยู่พอสมควร ในส่วนการกำกับดูแล ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ ก็ปรากฏว่า ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ก็ไม่มีกฎหมายกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยตรง แต่ใช้กฎหมายที่มีอยู่ คือ กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวตนของผู้ประกอบการว่ามีอยู่จริง ตั้งอยู่ที่ใด อุปสรรคที่เป็นปัญหาต่อการเจริญเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในส่วนที่เป็นการซื้อขายออนไลน์มีปัจจัยหลายประการ ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง คือความเชื่อมั่นของผู้ซื้อสินค้าว่าจะถูกโกงหรือไม่ จะได้รับสินค้าตรงตามที่สั่งซื้อหรือไม่ ข้อมูลความลับของลูกค้าจะได้รับการคุ้มครองปกป้องหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ไม่วาจะเป็นในสหรัฐ ยุโรป เอเชีย จึงได้มีการนำระบบรองรับความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการโดยบุคคลที่สามมาใช้ คือการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือที่เรียกกันว่า TRUSTMARK มาใช้ ผู้ที่ออกเครื่องหมายรับรอง TRUSTMARK อาจเป็นเอกชนที่มีชื่อเสียง องค์กรกึ่งเอกชน หรือหน่วยงานรัฐก็ได้ ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเป็นที่น่าเชื่อถือถูกต้องตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่มีประวัติเสียหายทางธุรกิจ จะได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่อง TRUSTMARK ไว้ที่เว็บไซต์ของตน ซึ่งก็ช่วยแก้ไขปัญหาความเชื่อมั่นของผู้ซื้อสินค้าได้ดีระดับหนึ่ง สำหรับประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้จัดทำเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ TRUSTMARK ออกบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งน่าเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยได้บ้างไม่มาก็น้อย เครื่องรับรองดังกล่าวให้การรับรองความน่าเชื่อถือเฉพาะกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เท่านี้ ไม่ครอบคลุมถึงธุรกิจการเมือง


ความสำคัญของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
-ลดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าเช่าพื้นที่ขายหรือการลงทุนในการสร้างร้าน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำลง
-ประหยัดเวลาและขั้นตอนทางการตลาด
-เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และให้บริการได้ทั่วโลก
-มีช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
-สามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในลักษณะ Interactive Market
-ปรับปรุงหรือ Update ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา
- สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ซื้อหรือลูกค้า อาทิ ชื่อ ที่อยู่ พฤติกรรม การบริโภค สินค้าที่ต้องการ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการทำวิจัยและวางแผนการตลาด เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น
-สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์กร ในเรื่องของความทันสมัยและเป็นโอกาสที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นทีรู้จักของคนทั่วโลก
-สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย
องค์ประกอบพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ผลิตภัณฑ์ (Product)
แม้ เว็บไซต์จะมีความสวยงาม แต่หากผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ความสวยงามหรือตื่นตาตื่นใจเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถที่จะสร้างรายได้ให้ กับธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงควรที่จะมีการวิเคราะห์สินค้าว่ารูปแบบควรเป็นลักษณะใด การใช้ประโยชน์ของสินค้า และกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ซื้อ โดยเฉพาะการผลิตสินค้าที่ไม่มีขายทั่วไปในช่องทางปกติ เช่นผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรจากเกษตร เช่น ปลาร้าก้อน, ปลาร้าผง, สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้สินค้านั้นเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อออนไลน์ ปัญหา สำคัญของการซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตคือ ลูกค้าไม่สามารถทดลองสินค้าได้ก่อน แม้ว่าสินค้านั้นจะดีจริง ลูกค้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าจากร้านที่เขาเคยได้ยินชื่อมาก่อน หรือมิฉะนั้น สินค้าจะต้องมีตรายี่ห้อ เพื่อจะได้มั่นใจในคุณภาพสินค้า และการสร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้า ว่าจะไม่ทุจริต เพราะจำนวนเงินธุรกรรมที่ผู้บริโภคซื้อผ่านเว็บไซต์ บางครั้งก็ไม่คุ้มที่จะฟ้องร้องหากผู้ขายทุจริต นอกจากนั้น ผู้ขายจะต้องคำนึงถึงการจัดส่งสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีด้วย
2.ราคา (Price)
สินค้าไทยอาจมีราคา ถูกเมื่อคำนวณในสกุลเงินต่างประเทศ แต่การขายสินค้าไปต่างประเทศในลักษณะผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค (B2C) นั้น ผู้ซื้อต้องชำระค่าขนส่ง และภาษีนำเข้าด้วย ซึ่งขณะนี้ค่าขนส่งสินค้า 1 กิโลกรัมไปอเมริกา โดยบริษัทขนส่งมีต้นทุนประมาณ 1,000 บาท ดังนั้น สินค้าเหล่านี้อาจจะมีราคาแพงกว่าที่ซื้อจากร้านในอเมริกาได้ ในระยะยาวแล้วต้นทุนการผลิตของไทยอาจสูงกว่าอินเดีย หรือจีน เพราะค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นของไทย ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกด้วยการขายของถูกได้อีกต่อไป ดังนั้น ผู้ขายจึงควรเน้นการตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า หมั่นตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงราคาของคู่แข่งใกล้เคียง นอกจากนี้ ในการขายสินค้าบางชนิดเช่นเครื่องประดับที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา อาจทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูง เพราะมีการคำนวณน้ำหนักขั้นต่ำในการส่ง ผู้ขายจึงควรนำเสนอสินค้าเครื่องประดับเป็นชุด แทนที่จะแยกขายเป็นชิ้น ซึ่งเมื่อรวมราคาเป็นชุดแล้วจะทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่าราคาไม่สูงนัก ในกรณีที่ผู้ขายทราบตลาดหลักของตนว่าเป็นกลุ่มลูกค้าจากประเทศอะไรแล้ว อาจทำการคำนวณค่าจัดส่งรวมเข้าไปในราคาสินค้าเลย เพื่อจะช่วยร่นกระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้สั้นขึ้น สำหรับการตั้งราคาเพื่อจำหน่ายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้ขายจะต้องมีการคำนวณต้นทุนให้รอบคอบ หรือความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การที่ลูกค้าทำรายการซื้อด้วยบัตรเครดิตนั้น ธนาคารจะมีการคิดค่าธรรมเนียม 3% ซึ่งผู้ขายจะต้องนำค่าใช้จ่ายนี้ไปรวมเป็นต้นทุนก่อนตั้งราคาสินค้าด้วย
3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
คำ กล่าวที่ว่า ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ดูจะเป็นคำพูดที่มีน้ำหนักอยู่เสมอในโลกธุรกิจ เพราะทำเลการค้าที่ดีหลายแห่งจะมีค่าจอง ค่าเซ้งในราคาที่สูงลิบลิ่ว เนื่องจากเป็นที่ต้องการของคู่แข่งหลายราย และทำเลการค้าที่ดีก็มีอยู่จำกัด ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กหลายรายจึงต้องเริ่มธุรกิจด้วยการใช้รถเข็น หรือเปิดแผงลอยย่อยๆ ก่อน ถ้าจะเทียบกับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การหาทำเลอาจจะเทียบเคียงได้กับการตั้งชื่อร้านค้า ที่ศัพท์ทางอินเทอร์เน็ตเรียกว่า โดเมนเนม (Domain Name) ในทางอินเทอร์เน็ตนั้นไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ
ดังนั้นทำเลการค้าทางอินเทอร์เน็ต จึงไม่ได้หมายถึงที่ตั้งของร้าน ร้านค้าอาจใส่ข้อมูลสินค้าบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย อเมริกา หรือ อินเดีย ได้ โดยลูกค้าไม่ได้สนใจมากนัก และส่วนใหญ่แล้วไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของร้านค้าอยู่ที่ ประเทศใด แต่ลูกค้าเข้าสู่ร้านค้าโดยจดจำชื่อร้าน เช่น Amazon.com หรือ Hotmail.com ชื่อร้านค้าเหล่านี้เปรียบเสมือนยี่ห้อสินค้า และชื่อเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดบนโลกอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับทำเลทองย่านการค้า การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงควรเลือกชื่อที่จดจำได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่ชื่อที่ดี มักจะถูกจดไปหมดแล้ว ในปัจจุบันจึงเกิดธุรกิจซื้อขายเฉพาะชื่อโดเมนเนมเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยไม่ควรยึดเว็บไซต์เป็นช่องทางการค้าเพียงอย่างเดียว หากมีโอกาสเปิดช่องทางการค้าตามวิธีปกติได้ก็ควรจะทำควบคู่กันไปด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ การมีเว็บไซต์นั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าก่อนซื้อ หรือมีการซื้อซ้ำได้ หลังจากที่ลูกค้าได้ซื้อสินค้าจากช่องทางปกติไปทดลองใช้จนพอใจแล้ว
4.การส่งเสริมการขาย (Promotion)
การส่งเสริมการขายบนเว็บไซต์เป็น สิ่งจำเป็นเช่นเดียวกับการค้าปกติ โดยรูปแบบมีตั้งแต่การจัดชิงรางวัล การให้ส่วนลดพิเศษในเทศกาลต่างๆ รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าเข้ามาเลือกสินค้าที่เว็บไซต์ นอกจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อปกติ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์แล้ว ยังมีการโฆษณาด้วยรูปแบบที่เรียกว่าป้ายโฆษณาบนเว็บไซต์ (Banner Advertising) ซึ่งมีลักษณะคล้ายสื่อสิ่งพิมพ์ แต่จะแสดงบนเว็บไซต์อื่น การโฆษณาลักษณะนี้จะคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนครั้งที่แสดงโฆษณาโดยนับเป็นจำนวน หลักพันครั้ง หรือ CPM ซึ่งมาจากคำว่า Cost Per Thousand Impressions วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่งคือ การลงทะเบียนในเว็บไซต์เครื่องมือค้นหา เช่น Yahoo.com, Google.com หรือ การประมูลขายสินค้าในเว็บไซต์ eBay.com นอกจากการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี ต่างๆ ให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซต์แล้ว บริการหลังการขายก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าครั้งหนึ่งนั้น ไม่ได้หมายถึงการที่ผู้ขายจะได้รับเพียงคำสั่งซื้อเดียว หากมีบริการที่ดี เช่น การส่งของแถม หรือคูปองส่วนลดไปพร้อมกับสินค้า จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และอาจกลับมาซื้อซ้ำ หรืออาจบอกต่อเพื่อนฝูงให้มาใช้บริการร้านออนไลน์ของผู้ขายต่อไปได้
5.การให้บริการแบบเจาะจง (Personalization)
เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้เคยซื้อหนังสือจากเว็บไซต์ Amazon.com เมื่อเข้ามาที่เว็บไซต์นี้อีกครั้งหนึ่งจะมีข้อความต้อนรับ โดยแสดงชื่อผู้ใช้ขึ้นมา พร้อมรายการหนังสือที่เว็บไซต์แนะนำ ซึ่งเมื่อดูรายละเอียดจะพบว่าเป็นหนังสือในแนวเดียวกับที่เคยซื้อครั้งที่ แล้ว เมื่อผู้ใช้สั่งซื้อหนังสือใด เว็บไซต์ก็จะทำการแนะนำต่อไปว่าผู้ที่สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ มักจะสั่งซื้อสินค้าต่อไปนี้ด้วย พร้อมแสดงรายการหนังสือหรือสินค้าแนะนำ เป็นการสร้างโอกาสการขายตลอด เครื่องคอมพิวเตอร์ของร้านค้าสามารถเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้าทุกราย และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท Data Mining ทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในการซื้อสินค้า รวมทั้งการเสนอขายสินค้าแบบ Cross Sell ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถพัฒนาไปใช้กับการให้บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ ด้วยระบบ Call Center ได้ด้วย

6.การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy)
การซื้อขายผ่านระบบเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต ผู้ซื้อต้องมีการกรอกข้อมูลส่วนตัวของตนส่งไปให้ผู้ขาย ดังนั้น ผู้ขายจะต้องรักษาความลับของข้อมูลเหล่านี้ โดยต้องไม่เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าก่อนได้รับอนุญาต ข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงในเรื่องของข้อมูลอันเป็นความลับ เช่น หมายเลขบัตรเครดิตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ เช่นที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ดูแลเว็บไซต์จำเป็นต้องสร้างระบบ รักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่า ข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกโจรกรรมออกไปได้ โดยผู้ขายจะต้องระบุนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้า หรือ Privacy Policy ให้ชัดเจนบนเว็บไซต์ และปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่งครัด เช่นไม่ส่งโฆษณาไปหาลูกค้าทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาติ, ไม่นำข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าไปขายต่อให้บริษัทการตลาด เป็นต้น
รูปแบบพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business to Business) เป็นธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง ส่วนใหญ่เป็นการตกลงซื้อขายสินค้าบริการปริมาณมาก
2. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (C2C : Consumer to Consumer) ผู้ชื่อและผู้ขายจำนวนมากจะเข้ามาเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามือสองหรือการประมูล
3. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C:Business to Consumer) เป็นการทำธุรกรรมกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่นการจองที่พักโรงแรม เสื้อผ้า
ขั้นตอนการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
• ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
• ออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม น่าสนใจ
• ออกแบบขั้นตอนวิธีที่ใช้ง่ายและสะดวก
• ออกแบบเว็บให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
• ออกแบบด้วยการสร้างความแตกต่าง
• ขั้นตอนที่ 2 การโฆษณาออนไลน์
• ลงประกาศตามกระดานข่าว
• จัดทำป้ายโฆษณาออนไลน์
• โฆษณาผ่านอีเมล์
• แผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ
• ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล
• การลงทะเบียนเพื่อโฆษณาเว็บไซต์
• ขั้นตอนที่ 3 การทำรายการซื้อขาย
• ต้องรักษาความลับได้
• เชื่อถือได้
• พิสูจน์ทราบตัวตนจริงๆของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
• ขั้นตอนที่ 4 การส่งมอบสินค้า
• สินค้าที่จับต้องได้ (Hard goods)
• สินค้าที่จับต้องไม่ได้(Soft goods)
• software,รูปภาพ และเพลง ,บริการข้อมูลข่าวสาร
• ขั้นตอนที่ 5 การบริการหลังการขาย

ประเภทสินค้า ในระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์..ขุมทรัพย์แหล่งใหม่
การประชาสัมพันธ์ในการผลักดันให้มีการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น มักจะประชาสัมพันธ์ ว่าระบบนี้สามารถ ช่วยให้ผู้ประกอบการ ของไทย สามารถเผยแพร่ขายสินค้า และบริการได้ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก แต่มักจะลืมนำเสนอในเชิงกลับกันว่าผู้ประกอบการต่างชาติ ก็สามารถนำเสนอสินค้าและบริการมาแข่งกัน กับผู้ประกอบการภายในได้เช่นกัน การแข่งขันเรื่องของราคา และการตลาดเป็นกลไกสำคัญ ในการประกอบการดังจะพบว่าราคาของสินค้าในอินเทอร์เน็ตนั้น เป็นไปตามกลไกของตลาดแข่งขันเสรี และมักมีราคาที่ถูกกว่าราคาของสินค้าที่ขายในร้านค้าจริง เนื่องจากสามารถลดค่าใช้จ่ายได้หลายส่วน และยังมีสามารถรายได้จากแหล่งอื่นเช่นโฆษณา การขายและให้บริการข้อมูลสมาชิกได้
2.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับการแข่งขันทางการค้า
หากพิจารณาถึงความได้เปรียบเสียเปรียบ ในการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างตรงไปตรงมา คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ผู้ประกอบการที่มีความพร้อม มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ย่อมได้เปรียบ ดังกรณีที่คนไทยในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการและบุคคลทั่วไปรู้จัก และใช้บริการ การซื้อหนังสือผ่านอินเทอร์เน็ตทำให้ www.amazon.com สามารถสร้างรายได้จากตำราต่างประเทศ จำนวนมากซึ่งส่วนนี้คือส่วนที่ร้านหนังสือต้องสูญเสียรายได้ในส่วนนี้ไป จนบางร้านได้ปิดกิจการหรือลดขนาดลง แต่หากพิจารณาในส่วนของผู้บริโภคแล้ว จะพบว่าผู้บริโภคนั้นได้รับผลประโยชน์ คือ สามารถเลือกซื้อหนังสือได้ราคาถูกลงแม้รวมค่าขนส่ง ดังจะเห็นได้ว่าหากร้านหนังสือไม่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ในการประกอบการย่อมมีปัญหาตามมาอีกแน่ และหากเกิดปัญหาในทำนองเดียวกันนี้ กับผู้ประกอบการในธุรกิจอื่น ย่อมไม่ส่งผลดีต่อประเทศอย่างแน่นอน
การเลือกสินค้าที่ลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ออกไป ก็สามารถสร้างความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึงเช่น www.garden.com ที่ขายต้นไม้จริงผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเรื่องของสินค้าคงไม่ได้จำกัดขอบเขตในกลุ่มของสินค้าที่นิยมกันเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่เชื่อมั่นได้ว่าการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นเรื่องของการตลาด หากมีการตลาดที่ดีก็สามารถให้บริการหรือนำเสนอสินค้าอะไรก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ประกอบการต้องสามารถสร้างโอกาสให้ตนเองได้ ในขณะที่คนส่วนใหญ่คาดไม่ถึงและคิดว่าเป็นปัญหาให้ได้






ประโยชน์ของ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงและมาจากที่ต่างๆกัน
2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์
3. ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้ โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายในองค์กรนั้นๆ
4. แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ
5. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศาหรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
6. ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
7. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น
8. สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่าปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย สินค้าและบริการมีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่นถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ Bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจากประเภทของสินค้า หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป (Member System)
9. รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกันโดยใช้ประโยชน์จากอีเมล์ในการติดต่อลูกค้า การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที
ข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดกลุ่มตามประเภทเทคโนโลยีและไม่ใช่เทคโนโลยี ซึ่งมีดังต่อไปนี้
ผลกระทบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อประเทศไทย
1. เปลี่ยนโครงสร้างการค้ารูปแบบใหม่ไปสู่ระบบดิจิทอล
2. ขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
3. เสียเปรียบดุลการค้าต่างชาติที่พัฒนาทางเทคโนโลยีไปสูงกว่า
4. ยังไม่มีกฏหมายที่ใช้บังคับการทำผิดบนอินเทอร์เน็ตโดยตรง หรือคุ้มครองข้อมูลการซื้อขายที่ชัดเจน
5. การส่งเสริมจากรัฐบาลเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เป็นไปอย่างไม่เร่งร้อน
6. ความไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัยของ e-commerce

เนื่องจากปัจจุบันทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ได้จัดตั้งกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจออนไลน์เกิดขึ้นมาก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมี ตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง

ทรอนิกส์ ประโยชน์ของการจดทะเบียนของผู้ขาย
1. เพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ และเว็บไซต์ที่จำหน่ายสินค้าในระดับหนึ่ง
โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้ จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการ เพื่อให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้
2. ช่องทางประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม โดยกรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่ขึ้นทะเบียน มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล แยกตามประเภทธุรกิจ ผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th/edirectory นำไปเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้สนใจผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง
3. สามารถขอหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) ได้ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่อง หมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ ได้ ซึ่งเครื่องหมาย Trustmark นี้จะมีความ น่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย Registered กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมฯ กำหนด เท่านั้น เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ (www.trustmarkthai.com)
4. สิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มเติม เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้
• ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ
• บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
• ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
• บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน
1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และ รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ สำเนาบัตรประจำตัว
- กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- นิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้าไม่ได้จดด้วยตัวเอง)
3. หนังสือชี้แจง กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด (เกิน 30 วันตั้งแต่การประกอบการทางเว็บไซต์)
กำหนดเวลาการยื่นคำขอจดทะเบียน
ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ให้ยื่นขอจดทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบการ (ทางเว็บไซต์)
สถานที่ยื่นจดทะเบียน
1. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นจดทะเบียนต่อ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 หรือ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะเลือกยื่นต่อสำนักงานใดก็ได้
- ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (ชั้น 10 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ นนทบุรี) โทร. 0 2547 5153-5
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 1 (อาคารธนาลงกรณ์ ถ.บรมราชชนนี)โทร.0 2446 8160-9
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 2 (อาคาร ถ.พระราม 6) โทร. 0 2618 3345
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 3 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7268
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 4 (อาคารวรวิทย์ ชั้น 8 โซน A-B) โทร. 0 2234 2951-3
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 5 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7255
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 6 (อาคารโมเดิอร์นฟอร์ม ถ.ศรีนครินทร์) โทร. 0 2722-8366-7
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7253
2. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะตั้งอยู่อำเภอใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น ๆ เพียงแห่งเดียว

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 14 การแก้ปัญหากระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์

ข้อเสนอแนะสำหรับครูและผู้ปกครอง
บทเรียนรู้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
มาตรฐาน ง ๒.๑ เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือ
วิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีคามคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีใน
ทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีอย่าง
ยั่งยืน
มาตรฐาน ง ๓.๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้
การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมี
คุณธรรม
ตัวชี้วัด : สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้

ง. ๒.๑(๕) วิเคราะห์และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันอย่าง
สร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม และมีการจัดการเทคโนโลยีที่ทั้ง
ยั่งยืนด้วยวิธีการของเทคโนโลยีสะอาด
ง. ๒.๑(๕) แก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ง. ๒.๑(๗) พัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
ง. ๒.๑(๙) ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
ง. ๒.๑(๑o) ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อ
ประกอบการตัดสินใจ
ง. ๒.๑(๑๑) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมตรงตาม
วัตถุประสงค์ของงาน
ง. ๒.๑(๑๒) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างชิ้นงานหรือโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและความ
รับผิดชอบ
ง. ๒.๑(๑๓) บอกข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโยนโลยีสารสนเทศ

แนวคิด
ปัจจุบันมนุษย์ต้องการความรวดเร็วในการทำงาน เนื่องจากมีการแข่งขันสูง ดังนั้นจึงนำวิวัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการแก้ปัญหาให้กับระบบงานเดิม เพื่อให้ระบบงานใหม่ที่เข้ามาแทนที่เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน นอกจากนี้การพัฒนาโครงงานของนักเรียน ก็คือแนวทางในการประมวลความรู้และศึกษาค้นคว้าเพื่อนำความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มาใช้สร้างนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่
สาระการเรียนรู้
๑.วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ
๒.การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
๓.ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
๔.ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์



กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
๑.อธิบายวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศได้
๒.จำแนกประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ได้
๓.บอกขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ได้

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการแก้ปัญหานั้น มนุษย์ต้องการนำมาช่วยเพื่อให้สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งส่วนมากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานนั้น จะต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้ ความเหมาะสมในการทำงาน และความคุ้มค่าต่อการลงทุน ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจะเหมาะกับงานที่มีปริมาณมาก งานที่ต้องทำซ้ำ ๆ และงานที่ต้องการความรวดเร็วในการประมวลผลเนื่องจากคุณสมบัติของระบบคอมพิวเตอร์จะช่วยให้ทำงานได้เร็ว ประมวลผลถูกต้อง และมีหน่วยความจำที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ปริมาณมากแล้ว เมื่อนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันโดยใช้การสื่อสารรูปแบบต่างๆ เข้ามาช่วยให้เกิดเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศก็จะสามารถเผยแพร่ข้อมูลไปได้ในระยะไกลๆ หรือสามารถนำข้อมูลที่มีมาใช้ร่วมกันได้ ทำให้สามารถประมวลผลได้รวดเร็วขึ้น และสามารถประมวลผลในรูปแบบกระจายได้
จะเห็นได้ว่าในหน่วยงานต่างๆ ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานเป็นการรองรับการให้บริการในด้านต่างๆ เช่น งานการขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีจุดขายสินค้าได้หลายจุดในห้างสรรพสินค้า ระบบงานธนาคาร ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังธนาคารสาขาและธนาคารอื่นๆได้ หรือในสถานศึกษาก็จะนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในการจัดเก็บข้อมูลของนักเรียนในรูปแบบของฐานข้อมูล และเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังงานทะเบียน งานวัดผล งานวิชาการ งานการเงิน เป็นต้น ในแต่ละงานก็สามารถใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ การลบหรือแก้ไขข้อมูลนักเรียนก็จะทำได้ง่าย ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน





วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ
เมื่อเกิดปัญหาหรือมีคามยุ่งยากในการทำงาน มนุษย์จะหาวิธีการในการแก้ปัญหาหาโดยการศึกษาจากระบบงานเดิม แต่ต้องนำมาพัฒนาให้ดีขึ้น ดังนั้นสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้หลักการวิเคราะห์และออกแบบระบบ มีวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development Life Cycle : SDLC) ๗ ขั้นตอนดังนี้
๑. การกำหนดปัญหา ( Problem Defintion)
การกำหนดปัญหาของระบบงานเดิม หรือระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
และการกำหนดปัญหาก็จะเป็นขั้นตอนของการกำหนดขอบเขตของระบบงาน ศึกษาความเป็นไปได้ของระบบงานใหม่ ความต้องการระบบงานของผู้ใช้ นำข้อมูลเหล่านี้มาสรุปเป็นขั้นตอนและขอบเขตในการจัดทำระบบงานใหม่
๒. การวิเคราะห์ ( Analysis )
การวิเคราะห์ระบบงานที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน วิเคราะห์ความต้องการระบบงานใหม่ นำมาสร้างเป็นแบบจำลอง และสร้างเป็นแผนภาพ ( Data Flow Diagram : DFD) เพื่อดูการเชื่อมโยงข้อมูลในแต่ละส่วนการแบ่งขอบเขตของงานฐานข้อมูลที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องในระบบงาน
๓.การออกแบบ ( Desing)
การออกแบบเป็นการนำขั้นตอนจากการวิเคราะห์มาออกแบบ เพื่อสามารถนำระบบนี้ ไปปฏิบัติงานได้จริง การออกแบบเป็นขั้นตอนตั้งแต่การออกแบบการนำข้อมูลเข้า รูปแบบการรับข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลข้อมูลทางจอภาพ ทางรายงาน ในรูปแบบฟอร์มต่างๆในตาละส่วนของหน่วยงาน รวมทั้งการออกแบบฐานข้อมูล
๔.การพัฒนา ( Development )
พัฒนาโปรแกรมด้วยการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมมาใช้ ตามขั้นตอนของระบบงานที่ได้ออกแบบไว้แล้ว ขั้นตอนของการพัฒนาอาจใช้เครื่องมือ CASE Tool ( Computer Aided Software Engineering ) มาช่วย เมื่อทำการพัฒนาระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องจัดทำเอกสารประกอบโปรแกรมต่อไป
๕.การทดสอบ ( Testing )
การทดสอบเป็นขั้นตอนของการทดสอบก่อนที่จะนำระบบไปติดตั้งเพื่อใช้งานจริง ซึ่งจะทดสอบทั้งความถูกต้องตามโครงสร้างของภาษาที่ใช้ในการพัฒนาและความถูกต้องตามความต้องการของผู้ใช้ เมื่อทดสอบระบบถูกต้องพร้อมที่จะนำไปติดตั้งใช้งานแล้วต้องทำการอบรมการใช้ระบบให้แก่ผู้ใช้ด้วย
๖.การติดตั้ง ( Implementation )
การติดตั้งระบบเพื่อใช้งานจริง สามารถนำระบบงานใหม่มาติดตั้งเพื่อใช้งานได้ ๓ ลักษณะ คือ
๖.๑ นำระบบงานใหม่ทำคู่ขนานไปกับระบบงานเดิมเพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งวิธีนี้เมื่อระบบใหม่มีปัญหา ก็ยังคงมีระบบเดิมรองรับอยู่ จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในการทำงาน
๖.๒ นำระบบงานใหม่มาใช้แทนที่ระบบงานเดิมทีละส่วนของงาน เป็นวิธีการที่ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบในครั้งเดียว แต่จะปรับเปลี่ยนไปครั้งละแผนกหรืองาน เมื่อแผนกใดพร้อมทั้งอุปกรณ์และบุคลากรก็จะทำการเปลี่ยนแปลง
๖.๓ ทำการเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งระบบพร้อมกัน ซึงวิธีนี้จะมีความเสี่ยงสูง เพราะถ้าระบบใหม่ยังมีข้อผิดพลาดทำให้การทำงานเกิดข้อผิดพลาดไปด้วย
๗.การบำรุงรักษา ( Maintenance )
การบำรุงรักษาจะแบ่งออกเป็น ๒ ด้าน คือ
๗.๑ การบำรุงรักษาด้านซอฟแวร์ เช่น เมื่อติดตั้งระบบเพื่อใช้งานในสถานการณ์จริงอาจเกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน หรือผู้ใช้ต้องการเพิ่มเติมระบบงาน
๗.๒ การบำรุงรักษาด้านฮาร์ดแวร์ คือ การดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านั้นจะถูกตรวจเช็กตามระยะเวลาในการใช้งาน
การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นการศึกษาอย่างอิสระสำหรับผู้เรียน โดยนำความรู้ที่ศึกษามารวบรวมเป็นองค์ความรู้เพื่อสร้างให้เป็นนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการสร้างงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนฝึกฝนทักษะด้านคอมพิวเตอร์ เนื่องจากจุดมุ่งหมายหลักในการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน เพื่อต้องการให้นักเรียนได้มีความสามารถและความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และนำความรู้นั้นไปใช้ในแก้ไขปัญหา หรือประดิษฐ์คิดค้นความรู้ใหม่ๆจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
กิจกรรมของโครงงานคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักดังนี้
๑.โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
๒.นักเรียนสามารถเลือกเรื่อง หรือหัวข้อที่ต้องการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจได้
๓.นักเรียนคิดค้นนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ด้วยตนเอง ตามความรู้ความสามารถที่ได้ศึกษามา
๔.นักเรียนต้องสามารถศึกษา สรุป วางแผน และนำเสนองานตามขั้นตอนของโครงงานด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาโครงงาน
โครงงานคอมพิวเตอร์จัดเป็นงานวิจัยระดับมัธยมศึกษา ดังนั้นครูผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้แสดงความสามารถตามศักยภาพของนักเรียน เป็นการเปิดโอกาสและส่งเสริมให้นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่สนใจได้อย่างอิสระทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน การจัดทำโครงงานยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการคิดอย่างมีระบบการแก้ปัญหาการตัดสินใจ สร้างความรับผิดชอบในการทำงานให้แก่นักเรียนได้เป็นอย่างดี และยังส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาในการคิดสร้างสรรค์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์
ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่จะกระตุ้นความสนใจด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนรู้ถึงศักยภาพและความสามารถของตนเอง ถ้านักเรียนคนใดมีความสนใจด้านคอมพิวเตอร์ก็จะนำความรู้นี้ไปศึกษาต่อ และประกอบอาชีพได้ในอนาคต และการทำโครงงานไม่ได้เป็นเพียงการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้บูรณาการกับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันได้ ซึ่งตรงตามจุดประสงค์ของการเรียนแบบบูรณาการในปัจจุบัน

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ๕ ประเภทดังนี้
๑. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานประเภทนี้ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อการเรียนการสอน โดยสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งจะประกอบด้วยเนื้อหาแต่ละหน่วยการเรียน แบบฝึกหัดการทดสอบก่อนเรียน และทดสอบหลังเรียน เป็นต้น โดยที่ครูจะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ เป็นอุปกรณ์ในการช่วยซ่อมเสริม หรือนำมาใช้ในการทบทวนบทเรียนให้แก่นักเรียนก็ได้ จะทำให้นักเรียนสมารถเรียนเพิ่มเติม หรือทบทวนในเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจได้
๒.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
โครงงานประเภทนี้เป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานด้านต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์ช่วยในการฝึกพิมพ์ดีด ซึ่งแต่ก่อนจะใช้เครื่องพิมพ์ดีด แต่ในปัจจุบันความนิยมในการใช้พิมพ์ดีดน้อยลงแต่ในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ซึ่งนำ ๒ สิ่งนี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพราะการพิมพ์งานที่ถูกต้องต้องมีทักษะด้านการพิมพ์เหมือนกับเราเรียนพิมพ์ดีด แต่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์แทนเครื่องพิมพ์ดีด และหลักการพิมพ์แต่ละขั้นตอน ก็ถูกพัฒนาซอฟต์แวร์ เนื่องจากอักษรของแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์นั้นเหมือนกับแป้นพิมพ์ดีด
โครงงานพัฒนาเครื่องมือประเภทอื่นๆ เช่น ซอฟต์แวร์ในการสร้างภาพ ซอฟต์แวร์ในการคำนวณระยะทาง หรือซอฟต์แวร์หมอดู เป็นต้น ซึ่งนักเรียนมีความสนใจด้านใด ก็สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ สำหรับเป็นเครื่องมือเพื่อประยุกต์ใช้งานกับเหล่านั้น
๓.โครงงานจำลองทฤษฎี
โครงงานจำลองทฤษฎี จะพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยการจำลองทฤษฎีสาขาต่างๆ ที่ไม่สามารถใช้เหตุการณ์ หรือสถานการณ์จริงได้เป็นโครงงานที่นักเรียนจะต้องศึกษาค้นคว้าความรู้ หลักการ แนวคิด และข้อเท็จจริงต่างๆ ของทฤษฎีนั้นอย่างลึกซึ้ง และสร้างแบบจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งโครงงานนี้จะเป็นการสร้างองค์ความรู้และการบูรณาการความรู้อย่างชัดเจน เช่น โครงงานจำลองอุกาบาตรชนโลก จะต้องศึกษาทั้งทฤษฎีด้านคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ และนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการ เพื่อความถูกต้องตามหลักทฤษฎี
โครงงานจำลองทฤษฎี จะเห็นว่าบริษัทผลิตรถยนต์ได้นำมาใช้ในการสร้างเหตุการณ์จำลอง ในการทดสอบความปลอดภัยของรถยนต์เมื่อรถยนต์พุ่งชนกำแพง คนขับจะมีความปลอดภัยในระดับใด จะใช้หลักการคำนวณตามหลักวิทยาศาสตร์ เมื่อมีความเร็วของรถยนต์ผสมผสานกับแรงกระแทกจะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น
นอกจากนี้โครงงานจำลองทฤษฎี สามารถนำมาทดลองในเรื่องต่าง ๆ ได้อีก เช่น การทดลองสภาวะโลกร้อน การทดลองการขับเครื่องบิน การทดลองระบบสุริยะจักรวาล เป็นต้น
๔.โครงงานประยุกต์ใช้งาน
โครงงานประยุกต์ใช้งาน เป็นโครงงานที่พัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะพบว่าปัจจุบันได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ มากมาย เช่นซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายใน ในร้านขายวัสดุก่อสร้าง ได้นำซอฟต์แวร์ประเภทนี้มาช่วยในการตัดสินใจให้แก่ลูกค้า โดยจะสร้างการจำลองตามความต้องการของลูกค้าและลูกค้าก็จะเห็นภาพ เสมือนจริงนั้น ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ในทันที โครงงานประยุกต์ใช้งานจะเป็นการประดิษฐ์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการคิดประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ ๆ หรือเป็นการพัฒนาปรับเปลี่ยนของเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ประเภทโครงงานประยุกต์ใช้งานอย่างมากมายในปัจจุบันเพราะมนุษย์ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว นอกจากซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้อีก เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือพีดีเอ(PDA: Personal Digital Assistants) ปาล์มคอมพิวเตอร์ (Palm Computer) เป็นต้น
โครงงานประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟแวร์การตรวจสอบสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซอฟต์แวร์การออกแบบผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์การตรวจสอบบุคคล เป็นต้น


๕.โครงงานพัฒนาเกม
ในปัจจุบันเกมคอมพิวเตอร์ ได้เข้ามามีบทบาทต่อเยาวชนอย่างยิ่ง ดังนั้นโครงงานพัฒนาเกม จึงเป็นอีกโครงงานที่จะส่งเสริมการสร้างเกมจากจินตนาการของนักเรียน ซึ่งจะทำให้ได้เกมสีขาวที่ไม่มีพิษภัยต่อผู้เล่น หรือเป็นการสร้างเกมในเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ตัวละครตามวรรณคดีเป็นผู้เล่น เช่น เกมผจญภัยทะลุมิติ แต่ตัวละครในเกมจะใช้เป็นหนุมาน พระลักษณ์ พระราม นางสีดา และทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นตัวละครในรามเกียรติ์ เป็นการผสมผสานความรู้ด้านวรรณคดีได้เป็นอย่างดี และทำให้ผู้เล่นเกมมีความเข้าใจ สามารถจำลักษณะของตัวละครเหล่านั้นได้ กฎกติกาการเล่นเกมผู้พัฒนาโครงงานสามารถกำหนดขึ้นมาได้เองตามความเหมาะสมหรือพัฒนาเกมประเภทฝึกสมอง ประลองปัญญา เช่น เกมจับคู่ เกมทายคำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นต้น จึงเป็นอีกรูปแบบของโครงงานประเภทนี้ หรือนำบทเรียนที่ยากต่อการท่องจำมาสร้างในลักษณะของเกมจะช่วยให้ผู้เล่นนอกจากได้รับความบันเทิงแล้ว ยังเป็นการท่องจำบทเรียนไปพร้อมกันด้วย
ดังนั้นการสร้างสรรค์เกมและสอดแทรกความรู้เข้าไปก็จะมีประโยชน์มากสำหรับผู้เล่นและผู้ประดิษฐ์คิดค้น
ซึ่งการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น นักเรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ
๑.หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
๒.กระบวนการและหลักการในการแก้ปัญหา
๓.หลักการเขียนโปรแกรม
๔.การแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์
จากโครงงานทั้ง ๕ ประเภทนี้ นักเรียนสามารถคิดสร้างสรรค์จากความสนใจและตามจินตนาการของตนเองได้อย่างอิสระ เป็นการเปิดโลกกว้างทางความคิด แต่จะอยู่ภายใต้การให้คำปรึกษาที่ดีของครู




ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
๑.เลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
๒.ศึกษาค้นคว้าข้อมูลและทฤษฎีต่างๆ เพื่อใช้ประกอบตามโครงงาน
๓.จัดทำเค้าโครงของโครงงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อเป็นกรอบแนวคิด แนวทางในการจัดทำโครงงาน และวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอน นำเสนอครูที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงงาน
๔.จัดหาอุปกรณ์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือเครื่องมือต่างๆ ที่จะใช้ตามโครงงาน
๕.เริ่มปฏิบัติงานตามโครงงาน
๖.การเขียนรายงานการจัดทำโครงงาน
๗.การนำเสนอและเผยแพร่โครงงาน
องค์ประกอบเค้าโครงงานของโครงงาน ประกอบด้วย
๑.ชื่อโครงงาน โดยระบุประเภทของโครงงานอย่างชัดเจน
๒.ชื่อ นามสกุล ผู้จัดทำโครงงาน
๓.ชื่อ นามสกุล ครูที่ปรึกษาโครงงาน
๔.ระยะเวลาดำเนินงาน
๕.แนวคิด ที่มา และความสำคัญของโครงงาน อธิบายแนวความคิดของการจัดทำโครงงานนี้ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว ต้องบอกถึงการปรับปรุง การเพิ่มเติม และประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น
๖.วัตถุประสงค์ของโครงงาน บอกวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงงานเป็นข้อๆ
๗.หลักการและทฤษฎี โดยอธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
๘.วิธีดำเนินงาน โดยจะระบุ

๘.๑วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
๘.๒คุณลักษณะของผลงาน
๘.๓เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา
๘.๔กระบวนในการแก้ปัญหา
๘.๕วิธีการเก็บข้อมูล
๘.๖วิธีการพัฒนา
๘.๗การทดสอบ
๘.๘การนำเสนอผลงาน
๘.๙งบประมาณในการดำเนินโครงงาน
๙.แผนปฏิบัติงาน ให้ระบุการปฏิบัติงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ
๑๐.ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
๑๑.เอกสารอ้างอิงที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เพื่อนำมาจัดทำเป็นโครงงานนี้
สรุป
วิธีการในการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ใช้การวิเคราะห์และออกแบบระบบ มีวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC) ๗ ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดปัญหา การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษา การนำโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องที่สนใจ จะแบ่งประเภทของโครงงานออกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานจำลองทฤษฎี โครงงานประยุกต์ใช้งาน และโครงงานพัฒนาระบบ


กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ให้ช่วยกันช่วยกันระดมความคิดเรื่อง การพัฒนาโครงงานด้านคอมพิวเตอร์ นักเรียนจะพัฒนาโครงงานประเภทใด และมีวัตถุประสงค์ในการทำโครงงานนี้อย่างไร
๒.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำโครงงานตามรายวิชา นักเรียนคิดว่าการพัฒนาโครงงานเหล่านั้นนักเรียนจะได้ประโยชน์อย่างไร
๓.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นว่า การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาในรูปแบบต่างๆ จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรต่อนักเรียน และนักเรียนคิดว่าจะลดช่องว่างทางการศึกษาระหว่างนักเรียนในชนบทกับนักเรียนที่อยู่ในเมืองได้หรือไม่