วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 11 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อเสนอแนะสำหรับครูและผู้ปกครอง
บนเรียนนี้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
มาตรฐาน ง 2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการ เทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วน ร่วมในการจัดการเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้ การสื่อสาร การ แก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และมีคุณธรรม
ตัวชี้วัด : สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้
ง 2.1 (3) สร้างและพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยโดยถ่ายทอด ความคิดเป็นภาพฉายและแบบจำลองเพื่อนำไปสู่การสร้างชิ้นงาน หรือถ่ายทอดความคิดของวิธีการ เป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผลโดยใช้ซอฟแวร์ช่วยในการออกแบบหรือนำเสนอผลงาน
ง 2.1 (4) มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในการที่ผลิตเอง หรือการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่ผู้อื่นผลิต
ง 2.1 (5) วิเคราะห์และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคมและ สิ่งแวดล้อม และมีการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืนด้วยวิธีการของเทคโนโลยีสะอาด
ง 3.1 (9) ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
ง 3.1 (10) ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลข้อมูลให้สารสนเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ง 3.1 (11) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน
ง 3.1 (12) ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานหรือโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ
ง 3.1 (13) บอกข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวคิด
ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และความต้องการด้านข้อมูลข่าวสารมีอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีหน่วยงานต่าง ๆ ได้เห็นถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงาน ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน
สาระการเรียนรู้
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการสำนักงาน
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการบริหารภาครัฐ
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านความบันเทิง
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
1. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาได้
2. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านการจัดการสำนักงานได้
3. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ได้
4. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารภาครัฐได้
5. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมได้
6. บอกการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านความบันเทิงได้
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ประกอบกับมีความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจากงานหลาย ๆ ด้าน จึงเห็นว่าการทำงาน หรือการประมวลผลข้อมูลได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพื่อก่อให้เกิดงานที่มีความถูกต้อง รวดเร็ว และสามารถเชื่อมต่อระบบงานนี้ไปยังเครือข่ายทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานได้อย่างแพร่หลาย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มช่องทางในการศึกษาให้กับผู้เรียน นอกจากเป็นการเรียนภายในห้องเรียนแล้ว ยังสามารถทำเป็นบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้นำมาเรียนเพิ่มเติมหรือเป็นการทบทวนนอกเวลาเรียนได้อีกด้วยการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีกับการศึกษา ได้แก่
1. การเรียนรู้แบบบทเรียนออนไลน์ (E-learning)
การเรียนรู้แบบบทเรียนออนไลน์ เป็นการเรียนที่จะสร้างบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บนเรียนต่าง ๆ เหล่านั้นจะประกอบด้วยภาพ เสียง เนื้อหาบทเรียน หรือบทเรียนมัลติมีเดีย ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาในการเรียนได้เอง เพราะเป็นรูปแบบการเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่และทุกเวลา การให้บริการแบบบทเรียนออนไลน์จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ
1. เนื้อหาบทเรียน
2. ระบบบริหารจัดการการเรียน เพื่อกำหนดลำดับของเนื้อหาบทเรียน กำหนดเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการเรียน กำหนดการทดสอบเพื่อวัดความรู้ของผู้เรียน กำหนดเกณฑ์ผ่านในแต่ละบทเรียน ตลอดทั้งการกำหนดระยะเวลาในการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน
3. การติดต่อสื่อสาร การเรียนแบบบทเรียนออนไลน์ ผู้เรียนสามารถที่จะติดต่อกับผู้สอนหรือเจ้าของบทเรียนได้ โดยจะใช้วิธีการสื่อสารผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Chat Webboard E-mail เป็นต้น
2. การเรียนผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในระบบการศึกษานอกจากทำบทเรียนออนไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพิ่มเติมแล้วในมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายๆแห่ง ได้จัดทำหลักสูตรการเรียนในระบบการเรียนการสอนผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ ทำให้ผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง ในการเดินทางไปเรียนในต่างประเทศ รายละเอียดของหลักสูตร กิจกรรมระหว่างเรียน การวัดผลการเรียน เกณฑ์การประเมินต่างๆ และการติดต่อระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา หรือระหว่างมหาวิทยาลัยกับนักศึกษาจะใช้วิธีการสื่อสารผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น เมื่อเรียนจบตามหลักสูตรนักศึกษาก็จะได้รับปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมีความเท่าเทียมกับนักศึกษาที่เรียนอยู่ภายในมหาวิทยาลัยทุกประการ สามารถเรียกได้ว่า “มหาวิทยาลัยเสมือน” หรือในทางการศึกษามักจะเรียกว่า “มหาวิทยาลัยไซเบอร์”
สำหรับประเทศไทย การเรียนในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเสมือนนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการมีข้อบังคับว่า ต้องมีการสอบจริงในทุกห้องสอบทุกภาคการศึกษา โดยมีอาจารย์ผู้ทำหน้าที่ควบคุมห้องสอบ และมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจข้อสอบ เมื่อเรียนจบแล้วนักศึกษาจะต้องมีคุณภาพไม่ด้อยกว่านักศึกษาในภาคปกติ สามารถนำความรู้ไปทำงานได้จริง และเสริมคุณค่าให้กับวิชาชีพในการทำงานได้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยเสมือนในประเทศไทย เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช และมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น
3.ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)
ระบบงานห้องสมุดเป็นระบบงานที่มีข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินงานอยู่หลายขั้นตอนจึงนิยมนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการภายในระบบ โดยจัดทำเป็นโปรแกรมระบบงานห้องสมุด เพื่อลดความยุ่งยากของงาน
เมื่อได้พัฒนางานจากระบบงานห้องสมุดเดิม มาเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลของหนังสือที่ต้องการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการอยู่ภายในห้องสมุดได้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้การจัดเก็บข้อมูลนักศึกษาในฐานข้อมูลของสถานศึกษาต่างๆก็สามารถนำข้อมูลนักศึกษามาเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานห้องสมุดได้ โดยใช้บัตรนักศึกษาที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเป็นบัตรสมาชิกห้องสมุดได้ทันที จะทำให้มีความสะดวกมากขึ้น ไม่ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของระบบงานอยู่ภายในหน่วยงานเดียวกัน
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดทำเว็บไซต์ของห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลของหนังสือได้ทุกที่และทำการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสมุดได้อีกด้วย นอกจานี้สิ่งพิมพ์หือหนังสือต่างๆ สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมานั่งอ่านอยู่ภายในห้องสมุดเพียงอย่างเดียวผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book) ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทันที หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีลักษณะไฟล์ 4 รูปแบบ คือ
1. HTML : Hyper Text Markup Language
2. PDF :Portable Document Format
3. PML : Peanut Markup Language
4. XML : Extensive Markup Language
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการสำนักงาน
ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายหน่วยงานได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้บริหารจัดการภายในสำนักงาน รียกว่า “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ MIS” เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องในด้านข้อมูล ภายในหน่วยงานจะประกอบด้วยฝ่ายต่างๆที่ต้องใช้ข้อมูลร่วมกันสามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในหน่วยงาน
นอกจากการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาใช้ภายในหน่วยงานได้นำรูปแบบการบริการและการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ภายในหน่วยงานอีกด้วย จะเรียกรูปแบบของเครือข่ายนี้ว่า “เครือข่ายอินทราเน็ต(Intranet)” เป็นเครือข่ายภายในหน่วยงานหรือองค์กรโดยจัดทำในรูปแบบของเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของหน่วยงานและจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร หรือคำสั่งต่างๆไว้ในเว็บไซต์
สำหรับในสถานศึกษาได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลด้วยเช่นกัน นอกจากเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของสถานศึกษาแล้วยังช่วยให้นักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครองสามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลของนักเรียนนักศึกษาได้
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์
ด้านการแพทย์ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สำหรับการจัดการงานด้านต่างๆภายในโรงพยาบาล ยังมีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย การให้ความรู้และการสอนทางไกลผ่านทางระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นต้น
เนื่องจากในประเทศไทยบุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมักจะอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น ดังนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขจึงนำระบบแพทย์ทางไกลมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อแพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยในชนบทสามารถสื่อสารกับแพทย์ในเครือข่ายเดียวกันได้ ทำให้แพทย์ที่อยู่ปลายทางสามารถเห็นทั้งภาพและเสียงของผู้ป่วย ทำให้ได้ข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อนำไปวิเคราะห์โรคและหาทางรักษาผู้ป่วยร่วมกันได้ เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแพทย์ในชนบทกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ กรณีนี้จะช่วยให้สามารถทำการรักษาผู้ป่วยได้ทันเวลา
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการบริหารงานภาครัฐ
ภารกิจหลักของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประเทศ คือ การปฏิรูปภาครัฐโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ จึงได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มในการดำเนินงาน ที่เรียกว่า “ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-government)
ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากจะนำมาใช้สำหรับการบริหารงานจัดการภาครัฐอย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังปรับปรุงเพื่อนำมาให้บริการแก่ประชาชน ทั้งในด้านข้อมลข่าวสารและการให้บริการด้านธุรกรรมกับภาครัฐอย่างทั่วถึง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม การสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ โดยได้รับความร่วมมือจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงภาครัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน
ระบบภาครัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จัดแบ่งความต้องการของผู้ใช้บริการออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชน ธุรกิจ ข้าราชการ และพนักงานของรัฐ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐทั้งในและต่างประเทศสามารถจัดรูปแบบของการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 4 รูปแบบ คือ
1. ภาครัฐต่อประชาชน (Government to Citizen : G2C)
2. ภาครัฐต่อเอกชน (Government to Business : G2B)
3. ภาครัฐต่อภาครัฐ (Government to Government : G2G)
4. ภาครัฐต่อข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employees : G2E)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารมีความทันสมัยมากขึ้นและมีรู)แบบของการสื่อสารและช่องทางได้แก่ โทรศัพท์ ดาวเทียม เคเบิลทีวี อินเตอร์เน็ต เป็นต้น จึงทำให้มนุษย์สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารระหว่างกันและกันได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว เทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆจะช่วยให้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านความบันเทิง
ด้านความบันเทิงได้นำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ก่อให้เกิดรูปแบบของ “อีซีนีมา” เป็นการบริการสมาชิกหรือลูกค้าแบบออนไลน์

สรุป
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับงานหลายๆด้าน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงานได้แก่
1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา เช่น การเรียนรู้แบบบทเรียนออนไลน์ การเรียนรู้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการสำนักงาน
3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์
4.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการบริหารงานภาครัฐ เช่น ด้านการจัดเก็บภาษี

บทที่ 10 การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

ข้อเสนอแนะสำหรับครูและผู้ปกครอง
บทเรียนนี้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้ การสื่อสาร การ
แก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม
ตัวชี้วัด : สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้
ง 3.1 (9) ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
ง 3.1 (10) ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ง 3.1 (11) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน
ง 3.1 (12) ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานหรือโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ
ง 3.1 (13) บอกข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวคิด
การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลจากหลายแหล่งมากกว่าการค้นหาข้อมูลจากภายในห้องสมุด แบ่งประเภทในการค้นหาข้อมูลที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทและรูปแบบของการค้นหาข้อมูล ผู้ใช้ต้องศึกษารูปแบบต่าง ๆ ของการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ให้บริการ ทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการมากที่สุด
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของเครื่องจักรค้นหา
2. ประเภทของการค้นหาข้อมูล
3. การค้นหาโดยใช้ Search Engines
4. เทคนิคในการค้นหาข้อมูล
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
1. อธิบายความหมายของเครื่องจักรค้นหาได้
2. บอกประเภทของการค้นหาข้อมูลได้
3. บอกวิธีการค้นหาข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้
4. บอกเทคนิคในการค้นหาข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ได้

ความหมายของเครื่องจักรค้นหา
ปัจจุบันโลกของอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลให้เราได้ค้นหาอย่างมากมาย มีเว็บไซต์ที่บรรจุข้อมูลไว้เพื่อให้เราเข้าไปค้นหา ถ้าเราต้องการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ เพื่อเข้าไปค้นหาข้อมูลเราต้องรู้จัก URL ของเว็บไซต์ต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้ผู้ใช้ไม่สะดวกในการใช้งานจึงได้มีผู้สร้างโปรแกรมขึ้นโดยรวบรวมเว็บไซต์ต่าง ๆ จัดไว้เป็นหมวดหมู่ของข้อมูลเหมือนกับห้องสมุดที่มีหนังสือมากมาย ตั้งหมวดหมู่หนังสือ เพื่อจะได้จัดหนังสือให้เป็นระเบียบตามหมวดหมู่ ผู้ที่เข้ามาใช้งานก็สามารถหาหนังสือตามหมวดหมู่ที่ตนเองต้องการได้ทันที ซึ่งภายในหมวดหมู่นั้นก็จะมีหนังสือหลายเล่มให้เราเลือกเช่นเดียวกับการจัดหมวดหมู่ของเว็บไซต์ที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อให้ใช้สามารถค้นหาได้ง่ายขึ้น โดยเลือกค้นหาตามหมวดหมู่ หรือหัวข้อเรื่องที่ตนเองสนใจได้โดยไม่ต้องรู้จัก URL ของเว็บไซต์นั้นเพียงแต่เรากรอกคำ หรือหัวเรื่องที่ต้องการค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกันก็จะแสดงออกมา วิธีนี้เป็นลักษณะของการใช้เครื่องมือช่วยในการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า “เครื่องจักรค้นหา (Search Engines)”
เครื่องจักรค้นหา (Search Engines) คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการในด้านการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้ใช้บริการ

ประเภทของการค้นหาข้อมูล
การค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 ประเภท คือ
1. Search Engine การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง
Search Engine การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรมช่วยในการค้นหาที่เรียกว่า “Robot” ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลการค้นหาข้อมูลรูปแบบนี้จะช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการ เพราะได้ระบุคำที่เจาะจงลงไปเพื่อให้ Robot เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูลเป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมมาก เช่น www.google.com
2. Search Directories การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่
Search Directories การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ มีเว็บไซต์ที่เป็นตัวกลางในหารรวบรวมข้อมูล ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ใช้สามารถเลือกข้อมูลตามที่ต้องการได้ โดยการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลจะจัดตามข้อมูลที่คล้ายกัน หรือเป็นประเภทเดียวกันนำมารวมรวบไว้ในกลุ่มเดียวกัน
ลักษณะการค้นหาข้อมูลแบบ Search Directories ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเลือกข้อมูลที่ต้องการค้นหาและทำให้ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการ
การค้นหาวิธีนี้มีข้อดี คือ สามารถเลือกจากชื่อไดเรกทอรีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหา และสามารถเลือกเข้าไปดูว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างได้ทันที เช่น www.sanook.com
3. Metasearch การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล
Metasearch การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล เป็นการค้นหาข้อมูลจากหลาย ๆ Search Engine ในเวลาเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่เป็น Metasearch จะไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยวิธีการดึงจากฐานข้อมูลของ Search Site จากหลายแห่งมาใช้แล้วจะแสดงผลให้เลือกตามต้องการ เช่น www.thaifind.com

การค้นหาโดยใช้ Search Engines
การใช้การค้นหาข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
 การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา
การระบุที่ต้องการค้นหา หรือที่เรียกว่า “คีย์เวิร์ด (Keyword)” โดยในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลจะมีช่องเพื่อให้กรอกคำที่ต้องการค้นหาลงไป แล้วจะนำคำดังกล่าวไปค้นหาจากข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ
โดยจะเริ่มจากการเลือกเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลที่เรามักจะเรียกว่า “เว็บไซต์สำหรับ Search Engines” มีเว็บไซต์ต่าง ๆ หลายเว็บไซต์ที่ให้บริการด้านนี้ เช่น www.google.co.th การใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาข้อมูลต้องพยายามระบุคำให้ชัดเจน เพื่อจะสามารถให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการหรือให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราต้องการให้มากที่สุด
วิธีปฏิบัติในการค้นหาข้อมูลแบบคีย์เวิร์ด สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1. พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines ในช่อง Address เช่น www’google.co.th
2. กรอกคำที่ต้องการค้นหาในช่องที่เว็บไซต์ได้กำหนดไว้
3. เว็บไซต์จะค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีคำที่เหมือนกันที่เรากรอกไว้ในช่องที่ต้องการค้นหาข้อมูล
4. คลิกเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการค้นหารายละเอียดของข้อมูลต่อไป ตัวอย่างเช่น เมื่อคลิกเลือกการศึกษา Education
 การค้นหาจากหมวดหมู่ หรือไดเรกทอรี (Directories)
การให้บริการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้เปรียบเสมือนเราเปิดเข้าไปในห้องสมุด ที่จัดหมวดหมู่ของหนังสือไว้แล้ว ภายในหมวดใหญ่นั้น ๆ ประกอบด้วยหมวดหมู่ย่อย ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือแบ่งประเภทของข้อมูลให้ชัดเจน จะสามารถเข้าไปหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการได้แล้วเปิดเข้าไปอ่านเนื้อหาด้านในของหนังสือเล่มนั้น ๆ วิธีนี้ช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีเว็บไซต์มากมายที่ให้บริการการค้นหาข้อมูลในรูปแบบนี้ เช่น
 www.siamguru.com  www.archive.com
 www.sanook.com  www.search.msn.com
 www.excite.com  www.thaiwebhunter.com
 www.hunsa.com  www.siam-search.com
วิธีปฏิบัติในการค้นหาข้อมูลแบบไดเรกทอรี สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ คือ
1. พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ในช่อง Address เช่น www.sanook.com
2. เลือกหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาข้อมูล เช่น การศึกษา จะแบ่งเป็นหัวข้อย่อยดังนี้
โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา สถาบันกวดวิชาและสอนพิเศษ แนะแนวการศึกษา...
3. เมื่อคลิกที่หัวเรื่องย่อยที่ต้องการ เช่น สถาบันอุดมศึกษา
4. จะปรากฏหัวข้อเรื่องย่อยของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
ทำให้เลือกข้อมูลได้ตรงกับความต้องการได้มากที่สุด โดยไม่เสียเวลาในการเลือกข้อมูล เพราะได้จัดข้อมูลแบ่งเป็นกลุ่มข้อมูลย่อย ๆ
5. นอกจากแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยของข้อมูลแล้วยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกค้นหาข้อมูลอีกมากมาย เช่น การเชื่อมโยงจาก www.sanook.com ไปยังเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

เทคนิคในการค้นหาข้อมูล
ข้อมูลได้จัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ มีจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อต้องการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ด้วยวิธีการค้นหาข้อมูลแบบคีย์เวิร์ด จึงมีเทคนิคที่ช่วยในการค้นหาเพื่อทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วและตรงตามที่ต้องการให้มากที่สุด ประกอบด้วยเทคนิคในการค้นหาข้อมูลดังต่อไปนี้
 การใช้ภาษา
การค้นหาข้อมูลแบบคีย์เวิร์ดสามารถค้นหาได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รูปแบบของภาษาไทยนั้นเป็นการเขียนประโยคที่ต่อเนื่อง เช่น ขนมไทย ศิลปวัฒนธรรมไทย สมุนไพรไทย เป็นต้น แต่การค้นหาด้วยคำภาษาอังกฤษจะแตกต่างจากภาษาไทย คือ ภาษาอังกฤษแบ่งวรรคของคำ เช่น Thai food ถ้าพิมพ์คำนี้แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำว่า Thai หรือ Food หรือ Thai food ออกมาให้ทั้งหมด ทำให้ได้รับข้อมูลมากมายเกินความต้องการ แต่ถ้าต้องการให้คำว่า Thai food เป็นข้อความเดียวกัน ต้องพิมพ์คำดังกล่าวไว้ในเครื่องหมายคำพูด (“ “) เช่น “Thai food” แปลว่าอาหารไทยนั้น เมื่อให้เว็บไซต์ค้นหาข้อมูลให้ก็จะแสดงเฉพาะเว็บไซต์ที่มีคำว่า Thai food เท่านั้น จะทำให้ข้อมูลที่ต้องการแคบลง ช่วยให้เราสามารถหาผลลัพธ์ที่ต้องการได้เร็วขึ้น
ตัวอย่าง การค้นหาข้อมูลคำว่า Thai food
ผลลัพธ์ที่ได้คือจะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำว่า Thai หรือหรือ Food หรือ Thai food ออกมาให้ทั้งหมด
ตัวอย่าง การค้นหาข้อมูลคำว่า “Thai food”
ผลลัพธ์ที่ได้คือแสดงเฉพาะเว็บไซต์ที่มีคำว่า Thai food เท่านั้น
 ควรบีบประเด็นให้แคบลง
ควรบีบประเด็นให้แคบลง คือ การใช้คำให้ชัดเจน ตรงประเด็นที่ต้องการผลลัพธ์ให้มากที่สุด เพราะข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอยู่มากมาย ถ้าสามารถระบุคำที่ชัดเจนและตรงประเด็นแล้ว ทำให้ได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการชัดเจน และสามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เช่น ถ้าต้องการค้นหาข้อมูลของอาหารไทยเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ควรที่จะกำหนดข้อความในการค้นหา คือ “Thai food in Thailand” จะเป็นการกรองข้อมูลให้เราได้ประเด็นที่แคบลง
 การใช้คำที่มีความหมายเหมือนกัน
คำในภาษาอังกฤษมีหลาย ๆ คำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น World และ Earth แปลว่า “โลก” ถ้าต้องการหาคำว่า world แล้วผลลัพธ์ที่ได้ไม่สามารถหาข้อมูลของคำนี้ได้ เราควรลองเปลี่ยนเป็นคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน
 การใช้โอเปอเรเตอร์ หรือบูลีน
เมื่อต้องการที่เจาะจงข้อมูลสามารถที่จะนำโอเปอเรเตอร์ หรือบูลีนมาเป็นเครื่องมือช่วยในการค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วและตรงกับความต้องการมากที่สูด โอเปอเรเตอร์ที่ใช้ คือ AND OR AND NOT และเครื่องหมาย
1. AND “และ” เช่น computer and design ผลลัพธ์ที่ได้ต้องมีทั้งคำว่า “computer” และ “design” อยู่ด้วยกันเท่านั้นจึงจะดึงข้อมูลนั้นมาแสดง +,-
2. OR “หรือ” การใช้คำว่า ฯฑ จะมีคำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียวก็จะดึงข้อมูลนั้นมาแสดงให้ เช่น computer or design คือ จะมีแต่คำว่า computer หรือ มีแต่คำว่า design หรือมีทั้งคำว่า computer และ design ก็จะดึงข้อมูลนั้นมาแสดง การใช้คำว่า OR ช่วยในการค้นหาข้อมูลนั้นทำให้ข้อมูลที่ได้รับมีขอบเขตกว้างมาก
3. AND NOT หรือ NOT เช่น computer AND NOT Design หมายความว่า ให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า computer แต่ต้องไม่มีคำว่า design มาด้วย ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้เมื่อใช้ข้อความนี้ในการค้นหาข้อมูลก็จะแสดงข้อมูลเฉพาะที่มีแต่คำว่าคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าข้อมูลใดมีคำว่า “design” อยู่ด้วยจะไม่ดึงเอาข้อมูลนั้นมาแสดง
4. เครื่องหมาย + (บวก) หมายความว่า คำใดที่ตามหลังเครื่องหมายนี้จะต้องมีคำนั้นอยู่ในเว็บเพจนั้นเหมือนกับคำว่า AND
5. เครื่องหมาย – (ลบ) หมายความว่า คำใดที่ตามหลังเครื่องหมายนี้จะต้องไม่มีคำนั้นอยู่ในเว็บเพจนั้นเหมือนกับคำว่า NOT เช่น +computer –design ข้อมูลที่จะแสดงออกมาจะต้องมีคำว่า computer แต่ไม่มีคำว่า design
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูล
www.siamguru.com www.sanook.com
www.google.co.th www.search.com
www.thaihostsearch.com www.catcha.co.th
www.hotbot.com www.search.msn.com
www.yahoo.com www.excite.com
www.thaifind.com www.siam-search.com
www.sansarn.com www.thai-index.com
www.madoo.com www.allofthai.com

สรุป
การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เป็นการบริการบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายและมีความสะดวกในการค้นหามากกว่าการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะต้องใช้เว็บไซต์ประเภท Search Engines เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลข่าวสารได้
ประเภทของการค้นหาข้อมูลแบบเป็น 3 ประเภท คือ การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจงการค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ และการค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล ผู้ใช้สามารถเลือกวิธีการค้นหาและใช้เทคนิคในการค้นหาข้อมูลช่วย เพื่อที่จะจะได้รับข้อมูลให้ตรงตามความต้องการ และทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้เร็วขึ้นอีกด้วย
ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์ประเภท Search Engines และเว็บไซต์ที่มห้บริกาการค้นหาข้อมูลอยู่หลายเว็บไซต์ ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น และการใช้บริการรูปแบบนี้เสมือนเป็นการเปิดประตูห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลอยู่มากมาย ทำให้ข้อมูลที่ได้รับไม่เพาะเจาะจงอยู่เพียงในขอบเขตใดขอบเขตหนึ่งเท่านั้น แต่สามารถหาได้จากหลายแหล่งข้อมูลทั่วโลก

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
1. ให้นักเรียนแต่ละคนบอกวิธีการค้นหาข้อมูลที่ตนเองเคยใช้ รวมทั้งเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลจำนวน 5 เว็บไซต์
2. ให้นักเรียนแต่ละคนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่” คนละ 2 เรื่อง