วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 12 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางธุรกิจ

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์, โทรทัศน์, วิทยุ, หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้
ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้ โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
สำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกา (United States Trade Representative : USTR) ได้จัดทำรายงานประเมินปัญหา และอุปสรรคทางการค้าของประเทศคู่ค้าสหรัฐที่มีผลกระทบต่อการค้าของสหรัฐ หรือ Nation Trade Estimate Report on Foreign Trade Barrier (NTE) เป็นประจำทุกปี สำหรับรายงานประจำปี 2007 ได้เผยแพร่แล้วเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2550 โดยในส่วนของประเทศไทย มีรายงานที่เกี่ยวกับกิจการ Electronic Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยว่า ประเทศไทยขาดกฎหมายที่สมบูรณ์แบบที่จะส่งเสริมสนับสนุนกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ภาคธุรกิจขาดโอกาส ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเต็มที่ ธุรกรรมทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการในลักษณะธุรกิจต่อธุรกิจ การกำกับดูแลและส่งเสริมกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่ามีหน่วยงานหลักอยู่สองหน่วยงาน คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รับผิดชอบโดยตรงเรื่องโครงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยี ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี การป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลและส่งเสริมที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าและการพัฒนาผู้ประกอบการ
ตามรายงานของ USTR ดังกล่าวคงต้องยอมรับว่าค่อนข้างตรงกับความเป็นจริง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามอย่างเต็มที่ ในการผลักดันให้มีการตราพระราชกฤษฎีกา ที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ออกใช้บังคับ เพื่อให้การใช้กฎหมายดังกล่าวมีผลในทางปฎิบัติ และเสนอยกร่างกฎหมาย เพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ แต่การออกกฎหมายมีขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการอยู่พอสมควร ในส่วนการกำกับดูแล ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ ก็ปรากฏว่า ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ก็ไม่มีกฎหมายกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยตรง แต่ใช้กฎหมายที่มีอยู่ คือ กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวตนของผู้ประกอบการว่ามีอยู่จริง ตั้งอยู่ที่ใด อุปสรรคที่เป็นปัญหาต่อการเจริญเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในส่วนที่เป็นการซื้อขายออนไลน์มีปัจจัยหลายประการ ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง คือความเชื่อมั่นของผู้ซื้อสินค้าว่าจะถูกโกงหรือไม่ จะได้รับสินค้าตรงตามที่สั่งซื้อหรือไม่ ข้อมูลความลับของลูกค้าจะได้รับการคุ้มครองปกป้องหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ไม่วาจะเป็นในสหรัฐ ยุโรป เอเชีย จึงได้มีการนำระบบรองรับความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการโดยบุคคลที่สามมาใช้ คือการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือที่เรียกกันว่า TRUSTMARK มาใช้ ผู้ที่ออกเครื่องหมายรับรอง TRUSTMARK อาจเป็นเอกชนที่มีชื่อเสียง องค์กรกึ่งเอกชน หรือหน่วยงานรัฐก็ได้ ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเป็นที่น่าเชื่อถือถูกต้องตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่มีประวัติเสียหายทางธุรกิจ จะได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่อง TRUSTMARK ไว้ที่เว็บไซต์ของตน ซึ่งก็ช่วยแก้ไขปัญหาความเชื่อมั่นของผู้ซื้อสินค้าได้ดีระดับหนึ่ง สำหรับประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้จัดทำเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ TRUSTMARK ออกบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งน่าเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยได้บ้างไม่มาก็น้อย เครื่องรับรองดังกล่าวให้การรับรองความน่าเชื่อถือเฉพาะกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เท่านี้ ไม่ครอบคลุมถึงธุรกิจการเมือง


ความสำคัญของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
-ลดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าเช่าพื้นที่ขายหรือการลงทุนในการสร้างร้าน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำลง
-ประหยัดเวลาและขั้นตอนทางการตลาด
-เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และให้บริการได้ทั่วโลก
-มีช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
-สามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในลักษณะ Interactive Market
-ปรับปรุงหรือ Update ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา
- สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ซื้อหรือลูกค้า อาทิ ชื่อ ที่อยู่ พฤติกรรม การบริโภค สินค้าที่ต้องการ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการทำวิจัยและวางแผนการตลาด เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น
-สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์กร ในเรื่องของความทันสมัยและเป็นโอกาสที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นทีรู้จักของคนทั่วโลก
-สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย
องค์ประกอบพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ผลิตภัณฑ์ (Product)
แม้ เว็บไซต์จะมีความสวยงาม แต่หากผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ความสวยงามหรือตื่นตาตื่นใจเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถที่จะสร้างรายได้ให้ กับธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงควรที่จะมีการวิเคราะห์สินค้าว่ารูปแบบควรเป็นลักษณะใด การใช้ประโยชน์ของสินค้า และกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ซื้อ โดยเฉพาะการผลิตสินค้าที่ไม่มีขายทั่วไปในช่องทางปกติ เช่นผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรจากเกษตร เช่น ปลาร้าก้อน, ปลาร้าผง, สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้สินค้านั้นเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อออนไลน์ ปัญหา สำคัญของการซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตคือ ลูกค้าไม่สามารถทดลองสินค้าได้ก่อน แม้ว่าสินค้านั้นจะดีจริง ลูกค้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าจากร้านที่เขาเคยได้ยินชื่อมาก่อน หรือมิฉะนั้น สินค้าจะต้องมีตรายี่ห้อ เพื่อจะได้มั่นใจในคุณภาพสินค้า และการสร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้า ว่าจะไม่ทุจริต เพราะจำนวนเงินธุรกรรมที่ผู้บริโภคซื้อผ่านเว็บไซต์ บางครั้งก็ไม่คุ้มที่จะฟ้องร้องหากผู้ขายทุจริต นอกจากนั้น ผู้ขายจะต้องคำนึงถึงการจัดส่งสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีด้วย
2.ราคา (Price)
สินค้าไทยอาจมีราคา ถูกเมื่อคำนวณในสกุลเงินต่างประเทศ แต่การขายสินค้าไปต่างประเทศในลักษณะผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค (B2C) นั้น ผู้ซื้อต้องชำระค่าขนส่ง และภาษีนำเข้าด้วย ซึ่งขณะนี้ค่าขนส่งสินค้า 1 กิโลกรัมไปอเมริกา โดยบริษัทขนส่งมีต้นทุนประมาณ 1,000 บาท ดังนั้น สินค้าเหล่านี้อาจจะมีราคาแพงกว่าที่ซื้อจากร้านในอเมริกาได้ ในระยะยาวแล้วต้นทุนการผลิตของไทยอาจสูงกว่าอินเดีย หรือจีน เพราะค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นของไทย ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกด้วยการขายของถูกได้อีกต่อไป ดังนั้น ผู้ขายจึงควรเน้นการตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า หมั่นตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงราคาของคู่แข่งใกล้เคียง นอกจากนี้ ในการขายสินค้าบางชนิดเช่นเครื่องประดับที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา อาจทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูง เพราะมีการคำนวณน้ำหนักขั้นต่ำในการส่ง ผู้ขายจึงควรนำเสนอสินค้าเครื่องประดับเป็นชุด แทนที่จะแยกขายเป็นชิ้น ซึ่งเมื่อรวมราคาเป็นชุดแล้วจะทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่าราคาไม่สูงนัก ในกรณีที่ผู้ขายทราบตลาดหลักของตนว่าเป็นกลุ่มลูกค้าจากประเทศอะไรแล้ว อาจทำการคำนวณค่าจัดส่งรวมเข้าไปในราคาสินค้าเลย เพื่อจะช่วยร่นกระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้สั้นขึ้น สำหรับการตั้งราคาเพื่อจำหน่ายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้ขายจะต้องมีการคำนวณต้นทุนให้รอบคอบ หรือความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การที่ลูกค้าทำรายการซื้อด้วยบัตรเครดิตนั้น ธนาคารจะมีการคิดค่าธรรมเนียม 3% ซึ่งผู้ขายจะต้องนำค่าใช้จ่ายนี้ไปรวมเป็นต้นทุนก่อนตั้งราคาสินค้าด้วย
3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
คำ กล่าวที่ว่า ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ดูจะเป็นคำพูดที่มีน้ำหนักอยู่เสมอในโลกธุรกิจ เพราะทำเลการค้าที่ดีหลายแห่งจะมีค่าจอง ค่าเซ้งในราคาที่สูงลิบลิ่ว เนื่องจากเป็นที่ต้องการของคู่แข่งหลายราย และทำเลการค้าที่ดีก็มีอยู่จำกัด ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กหลายรายจึงต้องเริ่มธุรกิจด้วยการใช้รถเข็น หรือเปิดแผงลอยย่อยๆ ก่อน ถ้าจะเทียบกับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การหาทำเลอาจจะเทียบเคียงได้กับการตั้งชื่อร้านค้า ที่ศัพท์ทางอินเทอร์เน็ตเรียกว่า โดเมนเนม (Domain Name) ในทางอินเทอร์เน็ตนั้นไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ
ดังนั้นทำเลการค้าทางอินเทอร์เน็ต จึงไม่ได้หมายถึงที่ตั้งของร้าน ร้านค้าอาจใส่ข้อมูลสินค้าบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย อเมริกา หรือ อินเดีย ได้ โดยลูกค้าไม่ได้สนใจมากนัก และส่วนใหญ่แล้วไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของร้านค้าอยู่ที่ ประเทศใด แต่ลูกค้าเข้าสู่ร้านค้าโดยจดจำชื่อร้าน เช่น Amazon.com หรือ Hotmail.com ชื่อร้านค้าเหล่านี้เปรียบเสมือนยี่ห้อสินค้า และชื่อเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดบนโลกอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับทำเลทองย่านการค้า การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงควรเลือกชื่อที่จดจำได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่ชื่อที่ดี มักจะถูกจดไปหมดแล้ว ในปัจจุบันจึงเกิดธุรกิจซื้อขายเฉพาะชื่อโดเมนเนมเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยไม่ควรยึดเว็บไซต์เป็นช่องทางการค้าเพียงอย่างเดียว หากมีโอกาสเปิดช่องทางการค้าตามวิธีปกติได้ก็ควรจะทำควบคู่กันไปด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ การมีเว็บไซต์นั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าก่อนซื้อ หรือมีการซื้อซ้ำได้ หลังจากที่ลูกค้าได้ซื้อสินค้าจากช่องทางปกติไปทดลองใช้จนพอใจแล้ว
4.การส่งเสริมการขาย (Promotion)
การส่งเสริมการขายบนเว็บไซต์เป็น สิ่งจำเป็นเช่นเดียวกับการค้าปกติ โดยรูปแบบมีตั้งแต่การจัดชิงรางวัล การให้ส่วนลดพิเศษในเทศกาลต่างๆ รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าเข้ามาเลือกสินค้าที่เว็บไซต์ นอกจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อปกติ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์แล้ว ยังมีการโฆษณาด้วยรูปแบบที่เรียกว่าป้ายโฆษณาบนเว็บไซต์ (Banner Advertising) ซึ่งมีลักษณะคล้ายสื่อสิ่งพิมพ์ แต่จะแสดงบนเว็บไซต์อื่น การโฆษณาลักษณะนี้จะคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนครั้งที่แสดงโฆษณาโดยนับเป็นจำนวน หลักพันครั้ง หรือ CPM ซึ่งมาจากคำว่า Cost Per Thousand Impressions วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่งคือ การลงทะเบียนในเว็บไซต์เครื่องมือค้นหา เช่น Yahoo.com, Google.com หรือ การประมูลขายสินค้าในเว็บไซต์ eBay.com นอกจากการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี ต่างๆ ให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซต์แล้ว บริการหลังการขายก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าครั้งหนึ่งนั้น ไม่ได้หมายถึงการที่ผู้ขายจะได้รับเพียงคำสั่งซื้อเดียว หากมีบริการที่ดี เช่น การส่งของแถม หรือคูปองส่วนลดไปพร้อมกับสินค้า จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และอาจกลับมาซื้อซ้ำ หรืออาจบอกต่อเพื่อนฝูงให้มาใช้บริการร้านออนไลน์ของผู้ขายต่อไปได้
5.การให้บริการแบบเจาะจง (Personalization)
เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้เคยซื้อหนังสือจากเว็บไซต์ Amazon.com เมื่อเข้ามาที่เว็บไซต์นี้อีกครั้งหนึ่งจะมีข้อความต้อนรับ โดยแสดงชื่อผู้ใช้ขึ้นมา พร้อมรายการหนังสือที่เว็บไซต์แนะนำ ซึ่งเมื่อดูรายละเอียดจะพบว่าเป็นหนังสือในแนวเดียวกับที่เคยซื้อครั้งที่ แล้ว เมื่อผู้ใช้สั่งซื้อหนังสือใด เว็บไซต์ก็จะทำการแนะนำต่อไปว่าผู้ที่สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ มักจะสั่งซื้อสินค้าต่อไปนี้ด้วย พร้อมแสดงรายการหนังสือหรือสินค้าแนะนำ เป็นการสร้างโอกาสการขายตลอด เครื่องคอมพิวเตอร์ของร้านค้าสามารถเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้าทุกราย และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท Data Mining ทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในการซื้อสินค้า รวมทั้งการเสนอขายสินค้าแบบ Cross Sell ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถพัฒนาไปใช้กับการให้บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ ด้วยระบบ Call Center ได้ด้วย

6.การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy)
การซื้อขายผ่านระบบเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต ผู้ซื้อต้องมีการกรอกข้อมูลส่วนตัวของตนส่งไปให้ผู้ขาย ดังนั้น ผู้ขายจะต้องรักษาความลับของข้อมูลเหล่านี้ โดยต้องไม่เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าก่อนได้รับอนุญาต ข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงในเรื่องของข้อมูลอันเป็นความลับ เช่น หมายเลขบัตรเครดิตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ เช่นที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ดูแลเว็บไซต์จำเป็นต้องสร้างระบบ รักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่า ข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกโจรกรรมออกไปได้ โดยผู้ขายจะต้องระบุนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้า หรือ Privacy Policy ให้ชัดเจนบนเว็บไซต์ และปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่งครัด เช่นไม่ส่งโฆษณาไปหาลูกค้าทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาติ, ไม่นำข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าไปขายต่อให้บริษัทการตลาด เป็นต้น
รูปแบบพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business to Business) เป็นธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง ส่วนใหญ่เป็นการตกลงซื้อขายสินค้าบริการปริมาณมาก
2. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (C2C : Consumer to Consumer) ผู้ชื่อและผู้ขายจำนวนมากจะเข้ามาเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามือสองหรือการประมูล
3. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C:Business to Consumer) เป็นการทำธุรกรรมกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่นการจองที่พักโรงแรม เสื้อผ้า
ขั้นตอนการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
• ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
• ออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม น่าสนใจ
• ออกแบบขั้นตอนวิธีที่ใช้ง่ายและสะดวก
• ออกแบบเว็บให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
• ออกแบบด้วยการสร้างความแตกต่าง
• ขั้นตอนที่ 2 การโฆษณาออนไลน์
• ลงประกาศตามกระดานข่าว
• จัดทำป้ายโฆษณาออนไลน์
• โฆษณาผ่านอีเมล์
• แผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ
• ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล
• การลงทะเบียนเพื่อโฆษณาเว็บไซต์
• ขั้นตอนที่ 3 การทำรายการซื้อขาย
• ต้องรักษาความลับได้
• เชื่อถือได้
• พิสูจน์ทราบตัวตนจริงๆของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
• ขั้นตอนที่ 4 การส่งมอบสินค้า
• สินค้าที่จับต้องได้ (Hard goods)
• สินค้าที่จับต้องไม่ได้(Soft goods)
• software,รูปภาพ และเพลง ,บริการข้อมูลข่าวสาร
• ขั้นตอนที่ 5 การบริการหลังการขาย

ประเภทสินค้า ในระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์..ขุมทรัพย์แหล่งใหม่
การประชาสัมพันธ์ในการผลักดันให้มีการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น มักจะประชาสัมพันธ์ ว่าระบบนี้สามารถ ช่วยให้ผู้ประกอบการ ของไทย สามารถเผยแพร่ขายสินค้า และบริการได้ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก แต่มักจะลืมนำเสนอในเชิงกลับกันว่าผู้ประกอบการต่างชาติ ก็สามารถนำเสนอสินค้าและบริการมาแข่งกัน กับผู้ประกอบการภายในได้เช่นกัน การแข่งขันเรื่องของราคา และการตลาดเป็นกลไกสำคัญ ในการประกอบการดังจะพบว่าราคาของสินค้าในอินเทอร์เน็ตนั้น เป็นไปตามกลไกของตลาดแข่งขันเสรี และมักมีราคาที่ถูกกว่าราคาของสินค้าที่ขายในร้านค้าจริง เนื่องจากสามารถลดค่าใช้จ่ายได้หลายส่วน และยังมีสามารถรายได้จากแหล่งอื่นเช่นโฆษณา การขายและให้บริการข้อมูลสมาชิกได้
2.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับการแข่งขันทางการค้า
หากพิจารณาถึงความได้เปรียบเสียเปรียบ ในการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างตรงไปตรงมา คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ผู้ประกอบการที่มีความพร้อม มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ย่อมได้เปรียบ ดังกรณีที่คนไทยในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการและบุคคลทั่วไปรู้จัก และใช้บริการ การซื้อหนังสือผ่านอินเทอร์เน็ตทำให้ www.amazon.com สามารถสร้างรายได้จากตำราต่างประเทศ จำนวนมากซึ่งส่วนนี้คือส่วนที่ร้านหนังสือต้องสูญเสียรายได้ในส่วนนี้ไป จนบางร้านได้ปิดกิจการหรือลดขนาดลง แต่หากพิจารณาในส่วนของผู้บริโภคแล้ว จะพบว่าผู้บริโภคนั้นได้รับผลประโยชน์ คือ สามารถเลือกซื้อหนังสือได้ราคาถูกลงแม้รวมค่าขนส่ง ดังจะเห็นได้ว่าหากร้านหนังสือไม่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ในการประกอบการย่อมมีปัญหาตามมาอีกแน่ และหากเกิดปัญหาในทำนองเดียวกันนี้ กับผู้ประกอบการในธุรกิจอื่น ย่อมไม่ส่งผลดีต่อประเทศอย่างแน่นอน
การเลือกสินค้าที่ลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ออกไป ก็สามารถสร้างความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึงเช่น www.garden.com ที่ขายต้นไม้จริงผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเรื่องของสินค้าคงไม่ได้จำกัดขอบเขตในกลุ่มของสินค้าที่นิยมกันเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่เชื่อมั่นได้ว่าการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นเรื่องของการตลาด หากมีการตลาดที่ดีก็สามารถให้บริการหรือนำเสนอสินค้าอะไรก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ประกอบการต้องสามารถสร้างโอกาสให้ตนเองได้ ในขณะที่คนส่วนใหญ่คาดไม่ถึงและคิดว่าเป็นปัญหาให้ได้






ประโยชน์ของ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงและมาจากที่ต่างๆกัน
2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์
3. ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้ โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายในองค์กรนั้นๆ
4. แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ
5. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศาหรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
6. ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
7. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น
8. สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่าปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย สินค้าและบริการมีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่นถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ Bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจากประเภทของสินค้า หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป (Member System)
9. รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกันโดยใช้ประโยชน์จากอีเมล์ในการติดต่อลูกค้า การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที
ข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดกลุ่มตามประเภทเทคโนโลยีและไม่ใช่เทคโนโลยี ซึ่งมีดังต่อไปนี้
ผลกระทบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อประเทศไทย
1. เปลี่ยนโครงสร้างการค้ารูปแบบใหม่ไปสู่ระบบดิจิทอล
2. ขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
3. เสียเปรียบดุลการค้าต่างชาติที่พัฒนาทางเทคโนโลยีไปสูงกว่า
4. ยังไม่มีกฏหมายที่ใช้บังคับการทำผิดบนอินเทอร์เน็ตโดยตรง หรือคุ้มครองข้อมูลการซื้อขายที่ชัดเจน
5. การส่งเสริมจากรัฐบาลเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เป็นไปอย่างไม่เร่งร้อน
6. ความไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัยของ e-commerce

เนื่องจากปัจจุบันทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ได้จัดตั้งกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจออนไลน์เกิดขึ้นมาก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมี ตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง

ทรอนิกส์ ประโยชน์ของการจดทะเบียนของผู้ขาย
1. เพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ และเว็บไซต์ที่จำหน่ายสินค้าในระดับหนึ่ง
โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้ จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการ เพื่อให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้
2. ช่องทางประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม โดยกรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่ขึ้นทะเบียน มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล แยกตามประเภทธุรกิจ ผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th/edirectory นำไปเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้สนใจผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง
3. สามารถขอหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) ได้ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่อง หมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ ได้ ซึ่งเครื่องหมาย Trustmark นี้จะมีความ น่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย Registered กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมฯ กำหนด เท่านั้น เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ (www.trustmarkthai.com)
4. สิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มเติม เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้
• ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ
• บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
• ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
• บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน
1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และ รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ สำเนาบัตรประจำตัว
- กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- นิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้าไม่ได้จดด้วยตัวเอง)
3. หนังสือชี้แจง กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด (เกิน 30 วันตั้งแต่การประกอบการทางเว็บไซต์)
กำหนดเวลาการยื่นคำขอจดทะเบียน
ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ให้ยื่นขอจดทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบการ (ทางเว็บไซต์)
สถานที่ยื่นจดทะเบียน
1. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นจดทะเบียนต่อ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 หรือ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะเลือกยื่นต่อสำนักงานใดก็ได้
- ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (ชั้น 10 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ นนทบุรี) โทร. 0 2547 5153-5
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 1 (อาคารธนาลงกรณ์ ถ.บรมราชชนนี)โทร.0 2446 8160-9
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 2 (อาคาร ถ.พระราม 6) โทร. 0 2618 3345
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 3 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7268
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 4 (อาคารวรวิทย์ ชั้น 8 โซน A-B) โทร. 0 2234 2951-3
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 5 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7255
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 6 (อาคารโมเดิอร์นฟอร์ม ถ.ศรีนครินทร์) โทร. 0 2722-8366-7
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7253
2. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะตั้งอยู่อำเภอใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น ๆ เพียงแห่งเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น